วันที่ 8 มีนาคม เป็นวันประวัติศาสตร์ของผู้หญิงในอเมริกา เดือนมีนาคมทั้งเดือนเป็น “เดือนประวัติศาสตร์ของผู้หญิง” หรือ “วีเม็นส ฮิสตอรี่ มันท์ซ” (Women’s History Month) ในอเมริกาและอีกหลายประเทศทั่วโลก ฉลองและรำลึกถึงวีรสตรีที่ต่อสู้เพื่อสิทธิและความเสมอภาคของผู้หญิงมาในประวัติศาสตร์มาถึง ณ. วันนี้ คอลัมน์นี้เขียนสดุดีผู้หญิงอเมริกัน (ดิฉันลงเพียง 7 คน) ที่ถูกจารึกในประวัติศาสตร์ที่เปลี่ยนประวัติศาสตร์ในอเมริกา


ที่มาที่ไป
วันฉลอง “วันประวัติศาสตร์ของผู้หญิงในอเมริกา” เกิดขึ้นครั้งแรกวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1978 (ดูรูป) ในรัฐคาลิฟอร์เนีย เมือง ซานตา โรซ่า (Santa Rosa) เขต“โซโนม่า เคาน์ตี้” (Sonoma County) ตอนเหนือของรัฐ
สองปีต่อมา ปี ค.ศ. 1980 ประธานาธิบดี จิมมี่ คาร์เต้อร์ (Jimmy Carter) ได้ออกประกาศ ตั้งวันที่ 8 มีนา และทั้งสัปดาห์ เป็นสัปดาห์ประวัติศาสตร์ของผู้หญิง “วีเม็นส ฮิสตอรี่ วี๊ค” (Women’s History Week) ค.ศ. 1987 ตามด้วย 14 รัฐ ประกาศให้เดือนมีนาคมเป็นเดือนประวัติศาสตร์ของผู้หญิง “วีเม็นส ฮิสตอรี่ มันท์ซ”

ไทม์ ไลน์ การต่อสู้ของผู้หญิงในอเมริกา
ปี ค.ศ. 1492 “คริสโตเฟอร์” (Christopher Columbus) ค้นพบดินแดนใหม่ “อเมริกา” ผู้อพยพรุ่นแรกคือชาวอังกฤษ ฝรั่งเศษ และดัทช์ หลั่งไหลเข้ามาในดินแดนใหม่นี้เพื่อแสวงหาเสรีภาพทางศาสนา อเมริกาได้สมญานามว่า“ดินแดนแห่งผู้อพยพ”
ปี ค.ศ. 1619 เรือชาวดัทช์ลำแรกที่เข้ามาที่เมืองเจมส์ทาวน์รัฐเวอร์จิเนีย เอาคนผิวดำอัฟริกันมาเต็มลำเรือ เพื่อมาทำงาน แต่ได้นำพวกเขามาขายเป็นทาส
ชาวอังกฤษผู้อพยพรุ่นแรกที่เข้ามาตั้งรกรากในอเมริกาอยู่ภายใต้ความปกครองของประเทศอังกฤษ ได้ขยายพื้นที่ไปเรื่อยจนเป็น 13 อาณานิคมแรก เรียงลำดับจากตะวันออกเฉียงเหนือถึงตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของขุนนางอังกฤษและต้องเสียภาษีให้อังกฤษ ในที่สุดพวกอาณานิคมปฏิวัติเกิดสงครามระหว่างผู้อพยพและกองทัพอังกฤษ อเมริกาได้ประกาศอิสระภาพจากประเทศอังกฤษ วันที่ 4 กรกฎาคม 1776 นาย จอร์จ วอชิงตัน (George Washington) ได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานาธิบดีคนแรกของอเมริกา
ชนชั้นสอง ผู้หญิงและคนผิวดำ
ตั้งแต่สร้างประเทศใหม่ 200 กว่าปีมาแล้ว ผู้หญิงและคนผิวดำถือเป็นชนชั้นสอง ตามกฎหมายผู้หญิงเมื่อแต่งงานเธอตกเป็น“สมบัติ”ของสามี สามีมีสิทธิตบตีและทำทารุณกรรมเมีย สมบัติของผู้หญิงมีมาก่อนแต่งงานสามีมีสิทธิซื้อขายได้ ผู้หญิงทำพินัยกรรมไม่ได้ ผู้หญิงไม่มีสิทธิซูสามีต้องเป็นคนซูให้ ส่วนคนผิวดำ ตามกฎหมาย ทาสเป็น“สมบัติ”ของเจ้านาย เจ้านายมีสิทธิทำทารุณกรรมได้ ผู้หญิงและคนผิวดำไม่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง
สงครามกลางเมือง
ปี ค.ศ. 1861-1865 ความตึงเครียดระหว่างรัฐทางเหนือและรัฐทางใต้ต่อต้านทาสมีมากขึ้น รัฐทางเหนือต้อวการให้เลิกทาส ส่วนรัฐทางใต้ต้องการมีทาส จนกลายเป็นสงครามกลางเมือง “ซิวิลวอร์” (Civil War) จนกระทั่งเกิดสงครามกลางเมือง รัฐทางเหนือชนะ หลังสงครามสิ้นสุด รัฐบาลผ่าน บทเฉพาะการ 3 ฉบับคือ
บทเฉพาะการฉบับที่ 13 ผ่าน วันที่ 6 ธันวา ค.ศ. 1865 เลิกทาส
บทเฉพาะการฉบับที่ 14 ผ่าน วันที่ 9 กรกฎา ค.ศ. 1868 ระบุทุกคนที่เกิดในแผ่นดิน ถือว่าเป็นอเมริกันซิติเซ่น จุดประสงค์ เพื่อให้คนผิวดำทุกคนที่เกิดในอเมริกา เป็นซิติเซ่น คือไม่ใช่สมบัติของเจ้านายต่อไป
บทเฉพาะการฉบับที่ 15 ผ่าน วันที่ 30 มีนา ค.ศ. 1870 ระบุว่าคนผิวดำออกเสียงเลือกตั้งได้
สตรีที่เปลี่ยนประวัติศาสตร์ในอเมริกา
นาง อลิซาเบท เคดี้ แสตนตัน (Elizabeth Cady Stanton)
นาง อลิซาเบท เคดี้ แสตนตัน เกิดปี ค.ศ. 1815 เมือง จอนสเทาวน์ รัฐนิวยอร์ค ตาย ค.ศ. 1902 เธอมาจากตระกูลมั่งคั่ง พ่อเป็นทนายความชื่อดังและเป็นผู้พิพากษานิวยอร์คศาลสูงสุด และยังเป็นสมาชิกคองเกรส เธอได้อ่านหนังสือกฎหมายของพ่อตั้งแต่เล็กๆ เธอจำได้ว่าพ่อเธอได้บอกผู้หญิงที่ถูกสามีทารุณกรรมในคดีที่ตัดสินว่า ผู้หญิงที่แต่งงานแล้วไม่มีสิทธิตามกฎหมาย ฉะนั้นต้องทน นางอลิซาเบทมีการศึกษาสูง เป็นหญิงที่กล้าพูดในที่สาธารณธะ และต่อต้านความไม่เสมอภาคของผู้หญิง ค.ศ. 1840 เธอได้แต่งงานกับผู้ชายที่พ่อไม่เห็นด้วย เพราะเขาไม่รวย นาย“เฮ็นรี่ แสตนตัน” สามีเธอเป็น ตัวแทน “กลุ่มอเมริกันต่อต้านทาส”หรือ “เดอะ อเมริกัน แอนไท-สเลฟเวอรี่ โซซายอตี้” (The American Anti-Slavery Society) หลังแต่งงานเธอและสามีไปฮันนีมูนที่ กรุงลอนดอน เธอและสามีไปร่วม “คอนเวนชั่น” เกี่ยวกับการต่อต้านทาสระดับโลก เมื่อไปถึงคอนเวนชั่น ทางเจ้าหน้าที่ห้ามไม่ให้เธอและผู้หญิงอีกคนหนึ่งชื่อนาง “ลูเครเทีย ม็อท” (Lucretia Mott) เข้าไปในคอนเวนชั่น ทั้งสองสาวโกรธมากๆ เพราะให้ผู้ชายเข้าเท่านั้น เหตุการณ์นี้เป็นจุดเริ่มต้นแรงผลักดันให้นาง อลิซาเบท เริ่มวงการต่อสู้เพื่อสิทธิผู้หญิง หลังกลับจากฮันนีมูน เธอและสามีได้ย้ายไปอยู่หมู่บ้านใน เขต “เซเนคา ฟอลส์” รัฐนิวยอร์ค



นางอลิซาเบท ได้เริ่มมีการชุมนุมเริ่มจากกลุ่มผู้หญิงเล็กๆมาพบปะดื่มชากัน ถกกันเรื่องสิทธิและความไม่เสมอภาคของผู้หญิง ตั้งแต่ไสตล์การแต่งตัว ไปจนถึงสิทธิในการออกเสียง และต่อต้านการค้าทาส จากกลุ่มเล็กได้ขยายเป็นกลุ่มใหญ่ จากพบปะกลายเป็นการประชุมประจำ จากบ้านไปประชุมที่โบสถ์ ณ. ที่นั่นเธอได้พบและรู้จักกับนาง ซูซาน บี แอนโทนี่ (Susan B Antony) และกลายเป็นเพื่อนสนิทกัน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1850 ไป กลุ่มสตรีมีการจัดประชุม “วีเม็นส์ไรท์ คอนเวนชั่น” (Women’s Rights Conventions) ทุกปี จนกระทั่งเกิดสงครามกลางเมือง “ซิวิล วอร์” ปี ค.ศ. 1861-1865

ซูซาน บี แอนโทนี่ (Susan B Anthony)โวหาร: ไม่มีผู้ชายคนไหนที่ดีพอที่จะปกครองผู้หญิง โดยปราศจากความยินยอมของเธอ
ซูซาน บี แอนโทนี่ เกิดปี ค.ศ. 1820 เมือง อดัมส์ รัฐ แมสสูเซ็ท ตาย ปี ค.ศ. 1906 เธอเป็นผู้หญิงที่สำคัญมากคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ เรียกร้องต่อสู้การเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิของผู้หญิง ตอนเธอทำงานเป็นครูอายุเพียง 28 ปี เธอได้เงินเดือนๆละ $10 เธอมารู้ภายหลังว่าครูผู้ชายได้เงินเดือน $12.50 มากกว่าผู้หญิง $2.50 เธอได้เข้าเป็นสมาชิกสหกรณ์ครู เพื่อเรียกร้องเงินเดือนเท่าเทียมกัน ซึ่งไม่สำเร็จ หลังจากนั้นเธอ “แอ๊คทีฟ” ต่อสู้เพื่อความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย เธอได้เข้าร่วมตั้งองค์กรผู้หญิง เธอเดินทางไปคอนเวนชั่นและไปปราศรัยตามรัฐต่างๆ นอกจากนั้นเธอได้ร่วมกับ นาง แฮเรียท ทับแมน ต่อต้านให้เลิกทาส เธอเรียกร้องสิทธิให้ผู้หญิงมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง เดือน พฤษจิกายน ค.ศ. 1872 เธออายุ 52 ปี เธอได้ลงทะเบียนออกเสียงเลือกตั้ง และไปลงเสียงเธอถูกจับ และขึ้นศาล ศาลสั่งปรับ $100 ซึ่งเธอไม่ยอมจ่ายและท้าให้ผู้พิพากษาจับเธอเข้าห้องขัง แต่ผู้พิพากษาไม่ออกหมายสั่งจับ เพราะถ้าขึ้นศาลเธอสามารถนำคดีต่อสู้ไปถึงศาลสูงสุดได้ ปี ค.ศ. 1920 รัฐธรรมนูญ อเม็นด์เม๊นท์บทเฉพาะการฉบับที่ 19 ผ่าน ให้สิทธิผู้หญิงออกเสียงเลือกตั้งได้
แฮเรียท ทับแมน (Harriet Tubman)
นาง แฮเรียท ทับแมน เกิดปี ค.ศ. 1822 ตาย 1913 อายุ 91 ปี เกิดในรัฐ แมรี่แลนด์ เธอเกิดมาจากพ่อแม่ทาส ตอนเธอแต่งงานอายุ 22 ปี เจ้านายเธอตาย และเธอถูกขาย เธอถือโอกาสหนีตอนนั้น หลังจากหนีสำเร็จ เธอได้กลับไปช่วยเหลือครอบครัวและคนผิวดำในรัฐแมรี่แลนด์ 13 ครั้ง ระหว่างสงครามกลางเมือง เธอเข้าร่วมทหาร เป็นคนครัว สปาย และ พยาบาล เธอได้รู้จักกับ ซูซาน บี แอนโทนี่ เธอเป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมือง โดยร่วมในหน่วยงานใต้ดินเรียก “อันเด้อร์ กราวนด์ เรลโรด” (Underground Railroad) ระหว่างช่วงปี ค.ศ. 1860-1865 เธอลักลอบช่วยพวกทาสผิวดำหลบหนี จากทางรัฐตอนใต้ ไปรัฐทางเหนือรัฐอิสระ บ้างไปถึงประเทศแคนาดา (ตอนนี้มี ซีรีส Underground Railroad ทาง ไพร์ม ทีวี ลองดูสิคะ กินใจมากๆเลย)


ใต้รูปเธอเขียนว่า “I was the of the conductor of the Underground Railroad for eight years, and I can say what most conductors can’t say — I never ran my train off the track and I never lost a passenger.”
“ฉันเป็น“คอนดั๊กเต้อร์” คนขับรถไฟ (โค๊ดลับคำว่า “คอนดั๊กเต้อร์” แปลว่าผู้ ช่วยทาสหลบหนี) ของ รถไฟใต้ดิน (อันเด้อร์ กราวนด์ เรลโรด) มา เป็นเวลา 8 ปี และฉันพูดได้เต็มปาก ว่า “รถไฟไม่เคยตกราง” (คือเธอไม่เคยถูกจับได้) และฉันไม่เคยศูนย์ “ผู้โดยศาลเลย” (คือพวกทาสที่หนี)
โรซ่า พาร์คส (Rosa Parks)
นาง โรซ่า พาร์คส หญิงผิวดำนักต่อสู้เพื่อความเสมอภาคระหว่างผิว เกิดในรัฐ อลาบาม่า ค.ศ. 1913 ตายปี 2005 หลังสงครามกลางเมืองสิ้นสุดปี ค.ศ. 1865 คนดำก็ยังถูกกีดกัน และมีการแยกผิวมาตลอด ปี ค.ศ. 1896 ศาลได้ตัดสินในคดี Plessy v. Ferguson เป็นคดีบรรทัดฐาน ว่า การแบ่งแยกระหว่างผิวถือว่าไม่ละเมิดสิทธิรัฐธรรมนูญตราบใดที่ รัฐบาลจัดที่เฉพาะให้คนผิวดำ ถือว่าเท่าเทียมกัน “เซพพาเรท บัท อีควล”( separate but equal ) แปล “แบ่งแยก แต่เท่าเทียม” ??????? เช่น รัฐบาลจัดโรงเรียนสำหรับเด็กผิวดำ เท่านั้น (ปัญหาคือ โรงเรียน เด็กผิวดำมีโรงเรียนเดียวอยู่ไกล เด็กผิวดำต้องเดินไปโรงเรียนซึ่งไกลมาก) นั่งรถเมล์แบ่งแยกแถวนั่ง จัดคนดำนั่งข้างหลังมีไม่กี่แถว คนขาวนั่งด้านหน้า ห้องน้ำสาธารณะแยกระหว่างคนขาวและดำ เหตุการณ์นางโรซ่าเกิดขึ้นคือ ทุกวันเธอต้องนั่งรถบัสไปทำงานทุกวัน และมักจะสายเพราะที่นั่งด้านหลังเต็ม วันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1955 ไม่มีที่นั่งอย่างเคย เธอตัดสินใจนั่งด้านหน้า และไม่ยอมลุกให้คนขาวนั่ง การกระทำของเธอครั้งนี้ เกิดทำให้ระอุขึ้นมา คลใจให้บาทหลวง มาร์ติน ลูเท่อร์ คิง (Martin Luther King) เริ่มตั้งกลุ่มเดินขบวนเรียกร้องความเสมอภาคมาตลอด การเรียกร้องความเสมอภาคของคนผิวดำยังมีมาถึงปัจจุบัน ตอนดิฉันเรียนกฎหมายดิฉันได้อ่านเคสของเธอละเอียด ตอนนั้นเธอยังมีชีวิตอยู่ และชื่นชมเธอมากๆ


เชอรี่ ชิสโฮล์ม Shirley Chisholm
นาง เชอรี่ ชิสโฮล์ม กิด ค.ศ. 1924 ตาย ค.ศ. 2005 เธอเป็นหญิงผิวดำคนแรกที่ได้ ถูกเลือกเป็นสมาชิกคองเกรสใน ปี ค.ศ. 1968 และในปี ค.ศ. 1972 เธอลงเลือกตั้งตำแหน่งประธานาธิบดี พรรคเดโมแครท แต่เธอตกรอบ กัฟวันเน่อร์ “จอร์จ แม็คกัฟเว็น” (George McGovern) ได้เป็นตัวแทนพรรค แต่แพ้ “ริชาร์ด นิคสัน” (Richard Nixon) สังกัดพรรค รีพับบลิคกัน ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี โวหารของเธอคือ “คุณไม่สามารถเจริญก้าวหน้าหรือเปลี่ยนแปลงอะไรได้ ถ้าคุณยืนได้แต่ยืนคร่ำครวญและบ่นอยู่ข้างหลัง คุณจะก้าวหน้าได้ถ้าคุณนำความคิดนั้นและนำมาดำเนินการ”

ฮิลลารี่ คลินตัน Hillary Clinton
“นางฮิลลารี่ คลินตัน” (Hillary Clinton) (ภรรยา อดีตประธานาธิบดี คลินตัน) ระหว่างปี ค.ศ. 1993 ถึง 2001 เกิด ค.ศ. 1947 ที่ ชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ ปัจจุบันอายุ 74 ปี ปี ค.ศ. 2016 เธอเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้รับเลือกเป็น เพรสสิเด๊นท์เชียล แคนดิเดท พรรคเดโมแครท แข่งชิงตำแหน่งกับ “โดนัลด์ ทรัมพ์” ตัวแทนพรรครีพับบลิคกัน เธอแพ้ ทรัมพ์ชนะได้เป็นประธานาธิบดี ระหว่างปี ค.ศ. 2017-2021
ระหว่างเธอเป็นสตรีหมายเลขหนึ่ง ปี ค.ศ. 1993 ถึง 2001 เธอได้ไปปราศรัยสถานที่ต่างๆและเธอต่อสู้เพื่อความเสมอภาคของผู้หญิงและเรียกร้องสิทธิมนุษยชนของผู้หญิงมาตลอด คำปราศรัยที่จารึกในประวัติศาสตร์ของเธอคือคำปราศรัยในเบจิง ประเทศจีน วันที่ 9 กันยา1995 นางคลินตันกล่าวประโยค “Human rights are women’s rights and women’s rights are human rights” “สิทธิมนุษยชนคือสิทธิผู้หญิง สิทธิผู้หญิงคือสิทธิมนุษยชน” คือมันแยกกันไม่ได้ โวหารนี้ถูกจารึกเป็นอันดับ 35 ในจำนวน 100 วาทศิลป์ มีชื่อของอเมริกัน


คามาล่า แฮริส Kamala Harris

นาง“คามาล่า แฮริส” (Kamala Harris) แฮริส เกิด ค.ศ. 1964 เกิดที่เมือง โอ๊คแลนด์ รัฐคาลิฟอร์เนีย ปัจจุบันอายุ 57 ปี บิดาเป็นคนผิวดำ มารดาเป็นคนอินเดีย ปัจจุบัน เธอเป็นรองประธานาธิบดีหญิงคนแรกของอเมริกา ในคณะรัฐบาล โจเซฟ ไบเดน (Joseph Biden) ระหว่างปี ค.ศ. 2021 – 2025