วันนี้คุยกันเรื่องปัญหาเพื่อนบ้าน และ“กฎหมายเพื่อนบ้าน” “เนเบ้อร์ ลอว์” (Neighbor Law) ซึ่งคุณหลายคนคงได้ผ่านปัญหา ถ้าแก้ไม่ได้ก็อาจกลายเป็นเรื่องใหญ่เกลียดขี้หน้ากัน อยู่บ้านไม่มีความสุขถึงขั้นอยากย้ายบ้าน ปัญหาเพื่อนบ้านส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาต้นไม้ ซึ่งดิฉันได้ประสบกับตัวเอง ซึ่งมันค่อยๆบานปลาย“เนเบ้อร์ ลอว์”กฎหมายเพื่อนบ้านเป็นกฎหมายท้องถิ่นของแต่ละเมือง เรียก “โลเคิล ออร์ดิแน๊นซ์” (Local Ordinance) บางแห่งเข้มงวดกว่าบางแห่ง แต่หลายสถานการณ์ที่ไม่มีกฎหมายกำหนด กรณีไม่มีข้อระบุในกฎหมาย ศาลจะตัดสินเป็นคดีๆไปดูจากคดีบรรทัดฐานหรือตามประเพณีความเป็นอยู่ของท้องถิ่นนั้น และการปฏิบัติที่สมเหตุสมผลปัญหาต้นไม้เพื่อนบ้านดิฉันอยู่บ้านหัวมุม จึงมีเพื่อนบ้านข้างเดียวซ้ายมือ ครอบครัวชาวอินเดีย 6 คน สามีภรรยามีลูกยังเด็ก 2 คน และพี่สะไภ้ ผู้ชายมีธุรกิจร้านขายลิคเก่อร์และแกมีรายได้เสริม คือขายรถมือสองที่คนมาฝากขายที่ร้าน และแกจะนำรถมาจอดที่หน้าบ้านบททางเข้าโรงรถหรือ “ไดร๊ว์ เวย์” (Driveway) บ้านแกปลูกต้นมะนาวและพุ่มไม้หลากชนิดเป็นรั้วเตี้ยกั้น (ดูรูป 1) ปัญหาคือ เวลาหน้ามะนาวออกลูก ลมจะพัดใบไม้และดอกไม้ร่วงมาเขต “ไดร๊ว์ เวย์” บ้านดิฉัน และพุ่มไม้ก็จะรกเร็ว (บ้านนี้ปลูกอะไรก็งาม) พี่สะไภ้ก็จะเดิน เสต็ปข้ามทางช่องว่างระหว่างรั้วต้นไม้ประมาณ 3 ฟุต ลงมา“ไดร๊ว์ เวย์” ทางเข้าโรงรถบ้านดิฉัน …
Author Archives: JK
ข่าวดีล่าสุดของอิมมิเกรชั่น
เมื่อวันที่ 18 มีนาที่ผ่านมา“สภาล่าง”หรือ“เฮาส์ ออฟ เร็พพรีเซ็นเททีฟ” (House of Representative) ได้ผ่าน “บิล” หรือ “ร่างกฎหมาย” 2 ฉบับ คือ H.R 6 และ H.R.1603 ด้วย 228 ต่อ 197 เสียง สมาชิกพรรครีพับบลิคกัน 9 ท่าน ได้โหวตร่วมกับเดโมแครต ขั้นต่อไป 2 บิลนี้จะถูกส่งเข้า“สภาสูง”หรือ“เซเนท” (Senate) เพื่อโหวต เชื่อว่าสองบิลนี้จะผ่าน เพราะในเซเนท มีจำนวนวุฒิสมาชิกเท่ากัน เดโมแครท 50 รีพับบลิคกัน 50 ท่าน ถ้าเสมอ รอง ป.ธ.น. Harris โหวตเสียง ตัดสิน หลัง 2 บิลผ่าน “เซเนท” บิลถูกส่งให้ประธานาธิบดี “ไบเดน” เซ็น “บิล” …
โรบินฮู้ดอยู่อย่างถูกกฎหมายใกล้เป็นจริง
มีคำถามมาจากแฟนพันธ์แท้ที่ติดตามคอลัมน์ดิฉันมานาน อ่านคำถามข้อ 3 ข้อ เลยต้องรีบเขียนคอลัมน์ ให้กำลังใจค่า คำถาม ช่วยอธิบายการโหวตผ่านร่างกฎหมายจากสภาสูง (วุฒิสภา) หน่อยครับ คือเท่าที่อ่านข่าวจากหลายๆสื่อ ตอนนี้ในสภาสูงมีเสียงเท่ากัน 50/50 ถ้าบวกอีก 1 คะแนนของรองประธานาธิบดีก็ถือว่าชนะได้แล้ว ทำไมจึงต้องรอลุ้นล่ะครับ ผมไม่เข้าใจเลยครับ บางสำนักข่าวเขียนว่า “การโหวตคะแนนเสียงขั้นสุดท้ายในวุฒิสภาต้องการเพียงจำนวนเสียงข้างมากเท่านั้นจึงจะผ่านได้ แต่บางสำนักก็บอกว่าต้องได้ถึง 60 คะแนนจึงจะผ่านร่างกฎหมาย” ผมก็เลยสับสนว่าแล้วที่แท้จริงกระบวนการโหวตในสภาสูงของอเมริกาเป็นอย่างไรกันแน่ครับ ตอนนี้ผมรออ่านผลงานของคุณอยู่เรื่องหนึ่งซึ่งสำคัญต่อชีวิตผมและผู้อพยพที่เป็นโรบินฮู้ดประมาณ 11-12 ล้านคน ครับ ว่าไบเดนจะทำสำเร็จไหม ผมรอคอยกฎหมายปฏิรูปอิมมิเกรชั่นมายาวนานถึง 15 ปีเต็ม ถ้าโจ ไบเดน ไม่สามารถทำได้สำเร็จ ผมก็ไม่รอแล้วครับ ตัดสินใจกลับเมืองไทย ตอบคำถามเลยนะคะ ข้อ 1 ก่อนอื่นจะอธิบายเรื่องการโหวตผ่านร่างกฎหมายในอเมริกาย่อๆนะคะ “ร่างกฎหมาย” เรียก“บิล” (Bill) เมื่อมีผู้เขียนหรือเสนอ “บิล” ขึ้นมา ขั้นแรกบิลจะถูกส่งไป “สภาล่าง” หรือ“สภาผู้แทนราษฎร” เรียก“เฮาส์ ออฟ เร็พพรีเซ็นเททีฟ” (House of Representative) เรียกสั้นๆว่า“เฮ๊าส์” (House) ใน“เฮ๊าส์”มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือ ส.ส.ทั้งหมด 435 คน ซึ่งเป็นตัวแทนมาจากแต่ละรัฐ จำนวนสมาชิกแต่ละรัฐไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่ว่ารัฐนั้นมีกี่เขต รัฐคาลิฟอร์เนียมีสมาชิกผู้แทนราษฎรจำนวนมากที่สุดคือ 53 คน ส่วนรัฐเดลาแวร์ (รัฐที่ โจ ไบเดนอยู่) มีสมาชิก 1 คน สมาชิก …
รองประธานาธิบดีครบวงจร
วัน 20 มกราเป็นวันพิธีเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีคนใหม่ “โจ ไบเดน” (Joe Biden) และเราได้รองประธานาธิบดีผู้หญิงคนแรก นาง“กมลา แฮริส” (Kamala Harris) ตอนดิฉันดู “เลดี้กาก่า”(Lady Gaga) ร้องเพลงชาติอเมริกัน ดิฉันน้ำตาไหล“แฮ็ปปี้” (เป็นครั้งที่สอง ครั้งแรกคือวันที่ดิฉันสาบานตนเป็น “ซิติเซ่น”) ดิฉันถือเป็นการเปิดฉากใหม่ ของความสำเร็จในการต่อสู้เพื่อสิทธิเสมอภาคที่เท่าเทียมกันของผู้หญิง คนผิวดำ และการแต่งงานระหว่างผิว คือครบวงจร การกีดกันผิว เมื่อดิฉันเรียนกฎหมาย ทำให้ดิฉันเข้าใจที่มาที่ไปของประวัติศาสตร์อเมริกาอย่างลึกซึ้ง จากการศึกษาคดีต่างๆและการตัดสินคดีที่ค่อยๆเปลี่ยนไปตามยุคและกาลสมัย และได้“เช๊พ” (shape) อเมริกามาเป็นอเมริกาปัจจุบัน ตามประวัติศาสตร์คนผิวดำจากประเทศอัฟริกาถูกลักลอบตัวเข้ามาอเมริกาโดยชาวโปร์ตุเกสนำมาขายเป็นทาส ระหว่าง ค.ศ. 1525-1866 อเมริกามีคนผิวดำทาสมากกว่า 12.5 ล้านคน พวกขุนนางและเจ้าของไร่จะประมูลซื้อคนดำเอามาเป็นทาสทำงานไร่ฝ้ายและไร่ยาสูบ ทาสถือเป็นสมบัติของเจ้านายคือพวกเขาไม่มีสิทธิในตัวเองใดๆทั้งสิ้น เมื่อออกลูก หลานมาพวกเขาก็ยังเป็นทาส และเป็นสมบัติของเจ้านายไปทั้งโคตร ระหว่างปี ค.ศ. 1861-1865 เกิดสงครามกลางเมือง หรือ“สงครามเลิกทาส” ระหว่างรัฐทางเหนือและรัฐทางใต้ รัฐทางเหนือต้องการให้เลิกทาส แต่รัฐทางใต้(ซึ่งทำไร่นาเป็นหลัก)ต่อต้านการเลิกทาส ปี ค.ศ. 1863 ประธานาธิบดี “ลินคอล์น” ออกคำสั่ง“ประกาศ”ให้อิสรภาพทาส ปี ค.ศ. 1865 เมื่อสงครามสิ้นสุด รัฐทางใต้แพ้ รัฐบาลผ่านรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไข บทที่ 13 ระบุว่า “ห้ามมีทาสและห้ามบังคับใช้คนโดยที่เขาไม่ต้องการ” …
รอบปีที่ผ่านมา
คอลัมน์นี้สรุปรอบปี 2020 ที่ผ่านมาของครอบครัวเรา แชร์รูปเหตุการณ์ต่างๆที่เป็นความทรงจำดีๆของเรา เราเริ่มปีใหม่ 2020 ด้วย วันที่ 4 มกราไปงานแต่งงานของเพื่อนสนิท“แอริค” เขาซ่อมแซมและทำทุกสิ่งทุกอย่างในบ้านดิฉัน บ้านเราน่าอยู่และร่มรื่นเพราะเขา (ดูรูป 1) 11 กุมภาหน้าสตรอเบรี่ “เท็ด” นักเรียนโยคะพาพวกเรา“โยกิ” ไปเก็บสตรอเบรี่ที่ “ทานากะ ฟาร์ม “Tanaka farm” ของเพื่อนเขา (ดูรูป 2) 11 มีนา พวกโยกิฉลองเทศกาลสีสรรของชาวฮินดู “โฮลี” (Holi Festival) แต่ละคนแต่งเสื้อผ้าสีฉูดฉาดมาโยคะกัน(ดูรูป 3) 15 มีนาเพื่อนบ้านเชิญ 4 ครอบครัวไปเลี้ยงลา เขาย้ายไปอยู่รัฐอาริโซน่า (ดูรูป 4) และวันเดียวกันนั้นยิม 24 HourFitness ที่ดิฉันไปโยคะทุกวันปิด ตั้งแต่วันนั้นชีวิตในบ้านดิฉันเปลี่ยนไป “สเตย์ โฮม ออร์เด้อร์” หลังยิมปิด วันจันทร์ที่ 16 มีนาดิฉันเพิ่มคลาสโยคะที่บ้านจาก 3 วันเป็น 6 วัน เริ่ม 15 นาที แรก นั่งสมาธิและนั่งลมปราณ การบริหารลมหายใจ ซึ่งช่วยขยายปอดให้แข็งแรงและทำงานดีขึ้น (ดูรูป 5 และ 6) วันที่ …
ป.ธ.น. ใหม่ นิมิตรใหม่
ผลเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐผ่านไปเมื่อวันเสาร์ 7 พฤศจิกายน “โจ ไบเดน” พรรคเดโมแครท “ชนะ” คะแนนเสียง (อย่างไม่ราบรื่น) เพราะ“ประธานาธิบดี ทรัมพ์” ไม่ยอมรับความจริงว่าตน“แพ้”ง่ายๆ ณ. วันนี้ทุกอย่างโอเคแล้วค่ะ เมื่อวันจันทร์ที่ 23 พ.ย. ทรัมพ์ “ทวีท” ว่าตนเปิดไฟเขียวให้ยอมโอนอำนาจ&ตำแหน่งประธานาธิบดีให้ “โจ ไบเดน” โดยไม่ยอมรับว่าตนแพ้ นอกจากเราจะได้ประธานาธิบดี “เดโมแครท” แล้ว สภาผู้แทนราษฏร หรือ House of Representatives เดโมแครทมีเสียงข้างมาก แต่ วุฒิสภา หรือ Senate พรรครีพับบลิคคันมีเสียงข้างมากกว่า 2 เสียง การที่กฎหมายจะผ่านได้ จะต้องผ่านเสียงข้างมากทั้งสองสภา วันพิธีเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีคนใหม่หรือ “อินอ๊อกกิวเรชั่น เดย์” (inauguration day) ตรงกับวันพุธที่ 20 มกราคม 2021 ดิฉันถือว่าเป็นนิมิตรใหม่ ต้อนรับปีใหม่ “อิมมิเกรชั่นแพลน” ภายใต้ “ไบเดน” ท้าวความ: กฎหมายคนเข้าเมือง หรือ “กฎหมายอิมมิเกรชั่น” เป็นประเด็นสำคัญในการหาเสียงเลือกตั้งทุกสมัย ปี ค.ศ. 1986 ประธานาธิบดี …
เทศกาล ฮัลโลวีน
สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายก่อนวันเลือกตั้งประธานาธิบดีซึ่งมีทุก 4 ปี วันอังคารแรกของเดือนพฤศจิกายน ปีนี้ตรงกับวันที่ 3 เราจะได้ ป.ธ.น. คนใหม่ (หรือคนเก่า) วันยิ่งใกล้เข้ามาคนยิ่งเครียด แค่“โควิท”อย่างเดียวก็เครียดพอแล้ว ดิฉันเองก็เครียด แต่ก็พยายามทำใจว่า ใครชนะก็โอเค เครียดไปก็เท่านั้น ชีวิตเราก็ยังดำเนินต่อไป “ไลฟ์ โกส์ ออน” (Life goes on!) อย่างน้อยคิดแล้วเราชาว“แอลเอ”มีสิ่งที่ทำให้เราแฮ็ปปี้สุดๆคือ เรามี 2 โฮมทีมกีฬาที่ชนะเลิศแชมเปี้ยนชิพปีนี้ คือ ทีมบาสเก็ตบอล “ลอส แองเจลิส เล๊คเก้อร์ส์” (Los Angeles Lakers) และทีมเบสบอล “ลอส แองเจลิส ด็อดเจอร์ส์” (Los Angeles Dodgers) วันนี้เราคุยกันเรื่องสนุกแก้เครียดดีกว่านะคะ เทศกาลฮัลโลวีน (Halloween) ซึ่งตรงกับที่ 31 ตุลาคม เสาร์นี้ เมืองไทยเรียก “วันปล่อยผี” คำ“ฮัลโลวีน” มาจากไหน คำ “ฮัลโลวีน” แยกเป็น 2 คำคือ “ฮัลโล่ + อีน” คำ “ฮัลโล่ว์” “Hallow” แปลว่านักบุญหรือผู้ศักดิ์สิทธิ์ คำว่า “อีน” (een) เพี้ยนมาจากคำว่า “อีฟ” “Eve” แปลว่าวันก่อนหน้า “ฮัลโล่ว์”+“อีฟ” (Hallow + Eve) เพี้ยนเป็น “ฮัลโล่วีน” วันฮัลโลวีน แปลว่า …
ระบบการไปรษณีย์ในอเมริกา
ใกล้วันเลือกตั้งเข้ามาแล้ว เมื่อคืนวันอังคาร 29 กันยา มี “ดีเบท” (debate) แรกระหว่าง”ทรัมพ์” และ “โจ ไบเดน” ดิฉันไม่ได้ดูไม่อยากเครียด แต่อ่านข่าวตอนเช้าอ่านแล้วก็ เฮ้อ! นึกว่าจะเขียนบทความอะไรดีที่ไม่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง เอาว่าเขียนเรื่องไปรษณีย์แล้วกันนะคะ เนื่องจาก“เมล์”ตอนนี้ถึงผู้รับช้ามาก และบางวันก็ไม่มีเมล์แม้กระทั่งเมล์ขยะ“จั๊งค์เมล์” (Junk mail) เห็นจากจดหมายจากอิมมิเกรชั่นช้ามากๆปกติดิฉันจะได้รับเท็กซ์ (Text) และจดหมายจากอิมมิเกรชั่น 1-2 วันให้หลัง แต่ตอนนี้จดหมายตามมาเกือบ 2 อาทิตย์ อดโยงไปถึงการเมืองไม่ได้คือ เหตุ เมื่อเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา ทรัมพ์ได้แต่งตั้งผู้อำนวยการไปรษณีย์คนใหม่ นาย “หลุยส์ เดอจอย” (Louis DeJoy) นายเดอจอยไม่มีประสบการณ์ด้านนี้แต่เขาได้บริจาคเงิน 1.2 ล้านเหรียญให้แคมเปญหาเสียงของทรัมป์ นายเดอจอยเข้ารับตำแหน่งปุ๊บก็ปฏิรูปการไปรษณีย์ยกใหญ่ ปั่นป่วนไปหมด เริ่มจากยกเลิกใช้เครื่องแยกจดหมาย 600 เครื่อง ตัดโอเว่อร์ไทม์คนงาน ลดเวลาบุรุษไปรษณีย์ส่งจดหมาย เดโมแครทหาว่าเป็นเหตุผลทางการเมือง ที่ทรัมพ์ต้องการให้การส่งบัตรเลือกตั้งสาย กว่าจะถึงมือประชาชนก็เกือบจะถึงวันเลือกตั้ง และยังต้องรีบส่งไปรษณีย์กลับไป เพราะประชาชนมากกว่าครึ่งลงเลือกตั้งทางไปรษณีย์แทนที่จะไปโพล เฮ้อ! …
โจ ไบเดน
เหลืออีก 2 เดือนก็จะถึงวันเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ของอเมริกา ซึ่งมีทุก 4 ปี วันอังคารแรกของเดือนพฤศจิกา ปีนี้ตรงกับวันที่ 3 พฤษจิกายน 2020 ประธานาธิบดี ดอนัลด์ ทรัมพ์ พรรครีพับบลิคกันตัวแทนพรรคลงสมัครเทอมที่สอง ส่วนพรรคเดโมแครท โจ ไบเดน (Joseph R. Biden Jr.) อดีตรองประธานาธิบดีของประธานาธิบดี บารัค โอบามา (ค.ศ. 2008 -2016) เป็นตัวแทนพรรคเดโมแครต ไบเดนเลือกนาง “กมลา แฮริส” (Kamala Harris) สมาชิกวุฒิสภารัฐแคลิฟอร์เนีย เป็นคู่ชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดี เธอ อายุ 55 ปี พ่อเป็น ชาว จามัยกา แม่เป็นคนอินเดีย ผู้ที่เป็นอเมริกันโปรดไป “โวท” นะคะ ประวัติโจ ไบเดน ตระกูลไบเดน พ่อของทวดชื่อ “วิลเลี่ยม ไบเดน” (ค.ศ. 1790-1840) เป็นรุ่นแรกที่อพยพจากอังกฤษมาอเมริกา ตั้งรกรากอยู่รัฐแมรี่แลนด์ ปู่ไบเดนเป็นนักธุรกิจค้าน้ำมันอยู่เมือง“บัลติมอร์” แมรี่แลนด์ ทำธุรกิจเป็นเศรษฐีร่ำรวย พ่อไบเดนชื่อ “โจ ไบเดน ซีเนียร์” (Joseph R. Biden Sr.) เกิดบนกองเงินกองทอง แต่งงานกับหญิงไอริช“แคทเทอริน ฟินนาเกน” (Catherine E. Finnegan) มีลูกด้วยกัน 4 คน ชาย 3 …
กฎการตรวจสุขภาพทำใบเขียว
ประกาศ ดิฉันมีหนังสือที่เขียน สิทธิของฉันในอเมริกา กฎหมายอิมมิเกรชั่น อยู่อเมริกา และ ชีวิตโรบินฮู้ด แจกฟรี หนังสือแต่ละเล่มมีประโยชน์มากค่ะ คุณสามารถไปเอาหนังสือได้ที่ วัดป่าธรรมชาติ เมือง La Puente จะวางอยู่ที่โต๊ะหน้าโรงทานค่ะ อีกประกาศหนึ่งค่ะ อิมมิเกรชั่นพึ่งประกาศวันนี้ว่า ค่าธรรมเนียมอิมมิเกรชั่นจะขึ้นวันที่ 2 ตุลาคม 2020 นี้นะคะ เมื่อดิฉันได้รายละเอียดค่า ธรรมเนียมใหม่ จะลงประกาศทันทีค่ะ ผู้ที่ขอใบเขียวหรือวีซ่าผู้อพยพ “อิมมิแกร๊นท์วีซ่า” (Immigrant Visa) และวีซ่าคู่หมั้นไปอเมริกา ผ่านกงสุลเรียก “คอนซูล่า พรอเซสซิ่ง” (Consular Processing) ต้องไปตรวจสุขภาพก่อนสัมภาษณ์ที่ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ บางกอกเนอร์ส ซิ่งโฮม ในกรุงเทพ หรือ ร.พ.แม็คคอร์มิคในเชียงใหม่ ส่วนผู้ที่ยื่นเรื่องขอใบเขียวในอเมริกา เรียก ปรับสถานภาพ หรือ “แอ็ดจัสท์เม๊นท์ ออฟ สแตตัส” (Adjustment of Status) ต้องไปตรวจสุขภาพกับหมอที่อิมมิเกรชั่นระบุรายชื่อเท่านั้น คุณจะได้รับผลตรวจสุขภาพในซองปิดผนึก ซึ่งคุณห้ามเปิดซอง …