หลังจากการเลือกกลางเทอมพึ่งผ่านเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พรรคเดโมแครทได้เสียงข้างมากทั้งในคองเกรสและในเซเนท ขอถือโอกาสทบทวนความจำของผู้ที่เตรียมจะไปสอบซิติเซ่นนะคะ คือ ในเซเนทมีผู้แทนหรือเซเนเต้อร์ทั้งหมด 100 คน คือแต่ละรัฐมีตัวแทน เซเนเต้อร์รัฐละ 2 คน ก่อนเลือกตั้งวันที่ 7 พ.ย. รีพับบลิคกันมีเสียงข้างมาก หลังเลือกตั้งเดโมแครทได้ที่นั่งเพิ่ม 6 ที่นั่งรวมปัจจุบันมีเดโมแครทเซเนเต้อร์ 51 คน รีพับบลิคกันเซเนเต้อร์ 49 คนพอที่จะทำให้ตาชั่งเอียงได้ (tip the scale) ส่วนในคองเกรสมีคองเกรสแมนทั้งหมด 435 คน จำนวนนี้ขึ้นกับจำนวนประชากรในแต่ละดิสตริคของแต่ละรัฐ รัฐใดมีพงเมืองน้อยก็มีคองเกรสแมนน้อย รัฐใดมีพลเมืองมากก็มีคองเกรสแมนมาก เคโมแครทได้ที่นั่งเพิ่ม 28 ที่นั่ง เท่ากับในสภามีเดโมแครทคองเกรสแมน 232 คนและ รีพับบลิคกันคองเกรสแมนเพียง 203 และ Speaker of the House คนใหม่เป็นเดโมแครท ผู้หญิงชื่อ แนนซี่ เพโลซี่ มาจากซานฟรานซิสโก Speaker of the …
Author Archives: JK
เข้าออกไทยด้วยสองพาสปอร์ต
ในที่สุดสนามบินใหม่ของประเทศไทย “สุวรรณภูมิ” (Suvarnabhumi) ได้เปิดวันที่ 28 กันยายน 2006 ดิฉันก็ได้แวบไปฉลองเปิดกับเขาด้วย สวยงามค่ะ และการเดินทางไปสนามบินสะดวกมาก ไปโดยทางด่วนได้แทบจะทุกทางด่วน และมีป้ายบอกอย่างชัดแจ้ง ดิฉันใช้เวลาเดินทางภายใน 20 นาทีจากใจกลางเมือง ซึ่งเทียบกับก่อนหน้านี้ไปดอนเมืองยังใช้เวลาประมาณ 35 นาที แต่มีข้อติอย่างแรงคือ พื้นที่สนามบินเป็นกระเบื้องเรียบขัดมัน ลื่นมาก เพื่อนดิฉันซึ่งใส่รองเท้าคัชชูลื่นเกือบหกล้ม และมีคนต่างชาติผู้ชายใส่รองเท้าหนังเดินเข็นรถเล็ก ตอนเดินทางลาด พี่แกก็ลื่นเกือบหกล้ม รถเข็นไถล ดิฉันเดินอยู่ข้างๆรีบยืนเท้าไปขัดรถเข็น และมือจับตัวแก ตัวดิฉันใส่อรงเท้าผ้าใบถึงไม่มีปัญหา ก็ขอเขียนกระจายข่าวมา ณ.ที่นี้ ขอร้องอย่าลงแว็กซ์และหาวิธีทำพื้นให้ด้านหน่อยค่ะเพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสาร มีแฟนคอลัมน์หลายคนที่เป็นอเมริกันซิติเซ่นถือสองพาสปอร์ตที่อยากกลับไปอยู่เมืองไทยนาน จะใช้พาสปอร์ตไทยเข้าประเทศได้อย่างไร เลยจะเขียนให้จากประสบการณ์ของตนเองกับสนามบินใหม่นะคะ ถือสองสัญชาติ ตามกฎหมายอเมริกัน คุณสามารถถือสองสัญชาติได้ซึ่งขึ้นกับกฎหมายของประเทศที่สองที่คุณถือสัญชาตินั้น ตามกฎหมายไทย ไม่อนุญาตให้ถือสองสัญชาติ (โปรดอ่านข้อมูลเพิ่มเกี่ยวกับ การถือสองสัญชาติ ในหนังสือ สิทธิของฉันในอเมริกาเล่มหนึ่ง 2005 บทที่ 5 กฎหมายสัญชาติและซิติเซ่น หน้า 5-8 ถึง 5-12) คุณสามารถเปิดอ่านข้อมูลในพาสปอร์ตอเมริกันหน้า 5 ข้อ …
ตอบจดหมายทำงานในอเมริกา
จดหมายฉบับหนึ่งถาม ดิฉันและลูกๆได้เป็นอเมริกันซิติเซ่นกันหมดแล้ว ต้องขอขอบคุณคุณรุจีรัตน์อีกครั้ง ที่ช่วยให้ดิฉันสอบผ่านเพราะการได้ฟังเทปของคุณ ดิฉันต้องขอคำแนะนำอีกเรื่องของหลานสาว หลานอายุ 18 ปีเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยในเมืองไทย มีบริษัทจัดหางานให้นักเรียนมาทำงานช่วงฤดูร้อน เสียค่าใช้จ่ายประมาณ 300,000 บาท ถ้าหลานสาวสมัครทำงานกับบริษัท จะได้สิทธิพิเศษ เช่นใบทำงานในอเมริกาตลอดไปหรือไม่ และสามารถเดินทางเข้าออกอเมริกาในฐานะที่เคยเข้ามาทำงานช่วงฤดูร้อนหรือไม่ ตอบ ดิฉันดีใจที่เทปได้ช่วยให้คุณสอบได้ เรื่องหลาน ขอตอบเป็นจุดๆเลยนะคะ (1) การมาทำงานภาคฤดูร้อน ก็คือมาช่วงซัมเม่อร์อาจประมาณ 2-3 เดือน เป็นการทำงานชั่วคราว อาจเป็นวีซ่าท่องเที่ยว B-2 ธรรมดาและทำงานโดยไม่ต้องมีเวิ้ร์คเพอร์มิท แต่เป็นการอาสาสมัครแบบอย่างที่ครูมาสอนนักเรียนในวัดไทยเป็นต้น หรือ อาจจะเป็นวีซ่า Q หรือเรียกวีซ่าดิสนีย์ คล้ายได้มาทำงานซัมเม่อร์หน้า “ไฮซีซั่น”เพื่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม วีซ่านี้ทำงานได้เลยโดยไม่ต้องมีเวิ้ร์คเพอร์มิท และได้เงินเดือน (โปรดอ่านข้อมูลเพิ่มเกี่ยวกับ “วีซ่าต่างชนิด”ในหนังสือ สิทธิของฉันในอเมริกา เล่มหนึ่ง บท . “ระบบวีซ่า” หน้า 3-15) หรืออาจเป็น J-1 คล้ายนักเรียนแลกเปลี่ยนหรือ au pair อย่างไรก็ตาม สมมติว่าทางบริษัทจัดหางานนั้น legitimate …
กฏหมายค่าเลี้ยงดูบุตร
สองสัปดาห์ที่แล้วดิฉันลงเรื่องเกี่ยวกับว่าถ้าทำใบเขียวไม่ผ่าน ทางอิมมิเกรชั่นจะส่งโนติสแจ้งให้คุณไปปรากฏตัวที่ศาลและอาจถูกส่งกลับได้ เหตุผลที่ไดเร็คเต้อร์ของอิมมิเกรชั่นรีบผ่านกฎนี้ออกมา เนื่องจากคดี Duran Gonzales ที่พึ่งตัดสินออกมาเมื่อต้นปีนี้ อนุญาตให้คนที่ขณะถูกดำเนินเรื่องเนรเทศสามารถยื่นเรื่องขอผ่อนผันและยื่นเรื่องขอเปลี่ยนสถานภาพพร้อมกันได้ ซึ่งตามกฎหมายอิมมิเกรชั่นจะไม่อนุมัติ เมื่อเคสนี้ผ่านออกมา ไดเร็คเต้อร์อิมมิเกรชั่นรีบออกกฎให้เจ้าหน้าที่ยื่นโนติสให้ผู้ที่ทำใบเขียวไม่ผ่านไปขึ้นศาลทันที (ปัจจุบันจะให้เวลานานกว่า อิมมิเกรชั่นจะดำเนินเรื่องขับไล่หลังที่ทำใบเขียวไม่ผ่าน) ตอนนี้พวกองค์กรทนายความอิมมิเกรชั่นได้ซูอัยการให้หยุดดำเนินเรื่องขับไล่และให้ใช้คดี Gonzales เป็นบรรทัดฐาน ไงคะ สบายใจขึ้นนิดหนึ่งไมคะ อย่างไรก็ตาม ข้อเตือนคือ แต่ละเจ้าหน้าที่แต่ละออฟฟิส แต่ละเคส ผลจะออกมาไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับเจ้าหน้าที่และการปฏิบัติของแต่ละออฟฟิส ข้อแนะนำคือ เมื่อยื่นเรื่องขอใบเขียว ให้ทำให้ดีที่สุด เพื่อจะไม่มีปัญหาภายหลัง กฎหมายใหม่ค่าเลี้ยงดูบุตร เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2006 มีการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับ Child Support ออกมาใหม่ ตามกฎหมายเก่าผู้ค้างเงินไม่จ่ายค่าเลี้ยงดูบุตรเกิน $5,000 ขึ้นไป ไม่สามารถทำพาสปอร์ตอเมริกันได้ หรืออาจถูกยกเลิกพาสปอร์ตได้ นับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมนี้เป็นต้นไป รัฐบาลได้ลดจำนวนเงินจาก $5,000 เป็น $2,500 เท่านั้น ค่าเลี้ยงดูบุตร หรือ ชายลด์ ซัพพอร์ท ตามกฎหมายอเมริกันถ้าคุณมีบุตรในอเมริกา …
กฏระเบียบอิมมิเกรชั่นใหม่ เริ่มใช้ 1 ต.ค. 2006
ตั้งแต่เกิดการปฏิรูปการเมืองบ้านเราเมื่อวันที่ 19 กันยาที่ผ่านมา เลยเซ็งๆ ไม่ได้เขียนคอลัมน์สัปดาห์ที่แล้ว จนได้ข่าวว่าแต่งตั้งนายกชั่วคราวได้แล้ว จึงต้องรีบทำใจกลับมาเขียนคอลัมน์ต่อ ตอนนี้กฎหมายอิมมิเกรชั่นก็ค่อยๆเปลี่ยนไปในทางเข้มงวดขึ้นโดยไม่รู้ตัว เกสท์เวิ้ร์คเค่อร์โปรแกรมที่โรบินฮู้ดหลายคนตั้งตารอคอยหวังจะได้ใบเขียวในอนาคต ก็ยังไม่มีทีท่าจะผ่านออกมาเร็วๆนี้ ทำใบเขียวติดขัดอาจถูกส่งกลับ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2006 ตามเม็มโมจากไดเร็คเต้อร์อิมมิเกรชั่น นาย Michael Aytes ถึงหน่วยงานอิมมิเกรชั่นว่า ในกรณีที่เคสขอใบเขียวในอเมริกาไม่ผ่าน (เคสเปลี่ยนสถานภาพ หรือ Adjustment of Status รวมขอใบเขียวแต่งงาน ใบเขียวครอบครัวและใบเขียวแรงงาน เป็นต้น) เจ้าหน้าที่มีหน้าที่ต้องส่งโนติสแจ้งผู้ยื่นเรื่องว่าไม่ผ่านและแนบจดหมายแจ้งให้ไปปรากฏตัวที่ศาลอิมมิเกรชั่นทันที (Notice to Appear) และผู้นั้นจะถูกดำเนินเรื่องส่งกลับและไม่สามารถรับอาสากลับเอง หรือเปลี่ยนทำเคสอื่น หรือขอคงไว้ซึ่งวีซ่าเดิม ก่อนหน้านี้ถ้าคุณทำเรื่องใบเขียวไม่ผ่าน จะใช้เวลากว่าจะดำเนินเรื่องขับไล่ คุณมีเวลาที่จะรับอาสาเดินทางออกนอกประเทศได้เอง หรืออาจมีเวลาแต่งงานกับซิติเซ่นและทำใบเขียว หรือหย่าและแต่งใหม่ทัน หรืออาจขอเปลี่ยนเป็นวีซ่าอื่นในกรณีที่วีซ่ายังไม่ขาด หรือยังคงไว้ซึ่งวีซ่าเดิม เช่น คนถือวีซ่าท่องเที่ยว ทำใบเขียวแต่งงานไม่ผ่านอาจรับอาสาเดินทางออกไปเองและขอให้คงวีซ่าท่องเที่ยวของตนไว้ ซึ่งหลัง 1 ตุลาคม ตามเม็มโมนี้ คุณจะทำไม่ได้อีกต่อไป นอกจากนี้ถ้าคุณถูกดำเนินเรื่องขับไล่ถือเป็นกรณีที่ร้ายแรงที่สุด เพราะจะเป็นปัญหาทำเรื่องกลับเข้าอเมริกาไม่ได้ตลอดชีวิต เพราะถ้าเป็นกรณีรับอาสาเดินทางออกเอง จะไม่เป็นประวัติเสียและสามารถพยายามทำเรื่องเข้าอเมริกาได้ …
Continue reading “กฏระเบียบอิมมิเกรชั่นใหม่ เริ่มใช้ 1 ต.ค. 2006”
ตอบคำถาม
ถาม ดิฉันมาอเมริกาได้ 10 กว่าปีแล้วยังไม่ได้หย่ากับสามีเก่าที่เมืองไทย ดิฉันได้จดทะเบียนสมรสกับแฟนใหม่หลายเดือนแล้ว ไม่กล้ายื่นเรื่องเพราะแฟนใหม่ไม่รู้ว่าดิฉันเคยแต่งงานมาก่อน ถ้าดิฉันยื่นเรื่องทำใบเขียวโดยไม่แจ้งว่าเคยแต่งงานมาก่อน ทางอิมมิเกรชั่นจะรู้หรือไม่ ตอบ ถ้าคุณให้ดิฉันเป็นคนทำใบเขียวให้ ดิฉันก็ต้องแนะนำให้คุณจัดการทำเรื่องหย่าที่เมืองไทยให้เรียบร้อยก่อน คุณสามารถหย่าได้โดยตัวไม่ต้องกลับเมืองไทย โดยจ้างทนายทางเมืองไทยทำเรื่องที่ศาล ถ้าผู้ชายเซ็นยินยอม ก็ควรจะได้เร็วประมาณ 4 เดือน ถ้าถามว่าทางอิมมิเกรชั่นจะรู้ไหม เป็นไปได้ค่ะ หรืออาจไม่รู้ ขึ้นอยู่กับว่าคุณแต่งงานที่เมืองไทยนานเท่าไรแล้วและแต่งต่างจังหวัดหรือในกรุงเทพ สมัยก่อนหน้ายุคคอมพิวเต้อร์ การเก็บข้อมูลในเมืองไทยยังตกหล่นได้ แต่ปัจจุบันเขาคงรู้ และอีกอย่างคือ ตอนคุณทำวีซ่าเข้ามาอเมริกาเมื่อ 10 ปีก่อน ถ้าคุณกรอกฟอร์มว่าคุณแต่งงานแล้วทางอิมมิเกรชั่นก็จะได้ข้อมูลนี้ค่ะ ถาม ถ้าดิฉันทำเรื่องหย่าไปที่เมืองไทยตอนนี้ ดิฉันต้องทำเรื่องหย่าที่นี่กับแฟนใหม่ด้วยหรือไม่ ตอบ ดิฉันคิดว่าไม่ต้องนะคะ เพราะการสมรสครั้งนี้ถือเป็นการจดทะเบียนซ้อน ฉะนั้นเท่ากับการสมรสนี้เป็นโมฆะ หลังจากที่คุณหย่าทางเมืองไทยเซ็น คุณสามารถจดทะเบียนใหม่ได้เลยและยื่นเรื่องขอใบเขียวได้ ดิฉันได้ทำเคสแบบนี้โดยการสมรสถือเป็นโมฆะและเรื่องผ่าน ลูกความได้ใบเขียวเรียบร้อย (โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่ม หัวข้อ หย่าร้าง ในหนังสือ “สิทธิของฉันในอเมริกาเล่มสองใหม่” บทที่2 หน้า2-3 และในหนังสือ อยู่อเมริกา หัวข้อแต่งงานและหย่า หน้า 42)) ถาม ดิฉันอยู่เมืองไทย เคยจดทะเบียนกับสามีมีลูกหนึ่งคน …
คำถามคำตอบปัญหาใบเขียวแต่งงาน
ถาม ดิฉันเข้ามาด้วยวีซ่าท่องเที่ยว วีซ่าขาดนานแล้ว มีแฟนเป็นใบเขียว อีกหนึ่งปีเขาได้ใบเขียวครบ 5 ปีถึงจะยื่นเรื่องทำซิติเซ่น ดิฉันควรแต่งงานและยื่นเรื่องทำใบเขียวตอนนี้เลยหรือคอยให้เขาได้ซิติเซ่นก่อน ถ้ายื่นเรื่องตอนนี้จะขอเวิ้ร์คเพอร์มิทได้หรือไม่ ตอบ คุณจะแต่งงานเดี๋ยวนี้หรือคอยก็ได้ค่ะแล้วแต่คุณทั้งสอง ถ้าคุณแต่งงานตอนนี้คุณจะยื่นเรื่องทำใบเขียวตอนนี้เลยก็ได้ค่ะ แต่คุณจะขอเวิ้ร์คเพอร์มิทไม่ได้ตอนนี้ เพราะคู่สมรสใบเขียวอยู่ภายใต้โควต้า ต้องรอจนกว่าโควต้ามาถึงก่อนซึ่งอีกหลายปี เมื่อแฟนได้เป็นซิติเซ่น คุณถึงจะทำเรื่อง upgrade เคสจากกรุ๊บคู่สมรสใบเขียวเป็นคู่สมรสซิติเซ่น และในขณะเดียวกันคุณยื่นเรื่องเปลี่ยนสถานภาพขอใบเขียวและขอเวิ้ร์คเพอร์มิทได้ตอนนั้น ถาม ผมเป็นซิติเซ่น แต่งงานและทำใบเขียวให้ภรรยาปีที่แล้ว ตอนนี้ภรรยาได้ใบเขียวเงื่อนไข 2 ปี ผมต้องการหย่าจะหย่าตอนนี้เลยได้หรือไม่ ภรรยาจะศูนย์ใบเขียวหรือไม่ ถ้าผมหย่าเสร็จผมต้องคอยนานเท่าไรถึงจะแต่งงานใหม่และทำใบเขียวให้คนใหม่ได้ ตอบ คุณสามารถหย่าได้ค่ะ เนื่องจากภรรยามีใบเขียวเงื่อนไข 2 ปี หมายความว่าคุณทั้งสองต้องยื่นเรื่องเข้าไปก่อนใบเขียวหมดอายุ ถ้าคุณหย่าตอนนี้ ภรรยาจะศูนย์ใบเขียว นอกจากเธอจะยื่นเรื่องภรรยาขอใบเขียวถาวรด้วยตนเอง โดยต้องทำเรื่องขอผ่อนผัน ซึ่งอาจจะผ่านหรือไม่ผ่าน แต่ถ้าระหว่างก่อนใบเขียวหมดอายุ ภรรยาเองก็ได้แต่งงานกับซิติเซ่นใหม่ เธอสามารถยื่นเรื่องขอใบเขียวใหม่กับแฟนคนใหม่ได้ วกกลับมาในกรณีคุณ เมื่อคุณหย่าเสร็จคุณสามารถแต่งงานใหม่ได้เลยค่ะไม่ต้องคอย และยื่นเรื่องขอใบเขียวให้แฟนใหม่ได้เลย คุณอาจถูกเคี่ยวมากหน่อยวันสัมภาษณ์ แต่ก็ไม่ควรเป็นปัญหานัก อ่านจากจดหมายคุณดูคุณยังห่วงภรรยาเรื่องใบเขียวเขาอยู่ ขอให้ความเห็นว่า ถ้าพออยู่กันได้ไม่เหลือบ่ากว่าแรงคอยจนกระทั่งทำใบเขียวถาวรให้ภรรยาเสร็จตลอดรอดฝั่งและถึงหย่า ก็คงได้บุญนะคะ ถาม ดิฉันได้ใบเขียวชั่วคราวจากการแต่งงานมาหนึ่งปีแล้ว เราเข้ากันไม่ได้ …
ตอบคำถามอีเมล์และจดหมาย
ตอบคำถามที่ค้างๆทางอีเมล์และจดหมาย ถาม ดิฉันอยู่วอชิงตัน เช่าตึกทำการค้ามาหลายปี ต่อสัญญาเช่าเรื่อยๆไม่มีปัญหาอะไร เมื่อเดือนมีนาที่ผ่านมาสัญญาเช่าหมดถึงเวลาต้องต่อสัญญาเช่าอีก ดิฉันได้ต่อรองราคาค่าเช่า แลนด์ลอร์ดบอกจะรับพิจารณา หลายอาทิตย์ต่อมา ได้โทรไปตามเขาบอกตกลงจะลดให้ และบอกจะส่งสัญญาเช่ามาให้ใหม่ จนป่านนี้ยังไม่ได้รับ ตอนนี้ดิฉันยังส่งค่าเช่าทุกเดือนตามสัญญาเดิม ขอความเห็นว่าดิฉันควรจะทำอย่างไรเพราะเป็นกังวลมาก เพราะอยากปรับปรุงร้านแต่ไม่กล้ากลัวจะลงเงินเปล่าเพราะยังไม่มีสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร ตอบ ขอตอบแยกเป็นประเด็นเลยนะคะ (1) ในแง่กฎหมายเมื่อสัญญาเช่าหมด และคุณอยู่ต่อไปเรื่อยๆ เท่ากับคุณกลายเป็นผู้เช่าเดือนต่อเดือนหรือ month to month tenant คุณจ่ายค่าเช่าตามสัญญาเดิมที่เคยจ่ายอยู่ซึ่งคุณทำถูกแล้ว(2) เมื่อคุณตกลงกับแลนด์ลอร์ดเป็นคำพูด และแลนด์ลอร์ดตกลง ในแง่กฎหมาย ถ้าไม่มีลายลักษณ์อักษรแต่อาจเป็นข้อผูกมัดได้ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเชื่อในข้อตกลงนั้นและได้ลงทุนทำอะไรบางอย่าง แต่ในกฎหมายก็มีการขัดกันในตัวที่ว่าสัญญากินหนึ่งปีต้องเป็นลายลักษณ์อักษร กรณีนี้ขอแนะนำให้คุณส่งค่าเช่าทางไปรษณีย์จำนวนตามข้อตกลงใหม่ และเขียนจดหมายกำกับอ้างถึง ข้อตกลงที่บอกด้วยปากเปล่า ณ.วันที่นั้นๆ และในจดหมายขอให้แลนด์ลอร์ดส่งสัญญาเช่ามาให้ บอกเขาว่าคุณมีแผนที่จะปรับปรุงร้านเริ่มเดือนหน้า หรืออะไรทำนองนั้น เพื่อกำหนดวันไปในตัวให้เขาเร่งทำสัญญา (3) คุณคิดถูกแล้วที่ยังไม่เริ่มลงทุนทำร้าน แต่ถ้าขอความเห็นดิฉัน ไม่คิดว่าคุณต้องกังวล ฟังแล้วดูเหมือนแลนด์ลอร์ดคุณทำธุรกิจแบบโอลด์ไทม์เม่อร์ คือเมื่อไรก็ได้หรือ “มันยาน่า คือพรุ่งนี้ก็ได้ เป็นไงคะหลายภาษาดีไหม” ไม่รีบร้อนอะไร ฉะนั้นต้องเป็นหน้าที่คุณที่จะเขียนจดหมายเป็นลายลักษณ์อักษร เขียนละเอียดถึงค่าเช่า สัญญากี่ปี วันเดือนที่ตกลงกัน และขออนุญาตจ่ายค่าเช่าใหม่ ณ. …
วีซ่าคู่หมั้น / Sex Offender
เพื่อนดิฉันอ่านคอลัมน์สัปดาห์ที่แล้ว ที่ดิฉันเขียนเกี่ยวกับ“เซ็กส์ ครายมน์ส” (Sex crimes) และ “คอนวิกเท็ด เซ็กส์ ออฟเฟ็นเด้อร์ส” (Convicted sex offenders) บอกว่าอ่านแล้วน่ากลัว คนไหนคิดแต่งงานเพื่อเอาใบเขียวอาจทำให้ขยาดถ้าอ่านคอลัมน์ดิฉัน ก็เลยคิดว่าสัปดาห์นี้ต้องเขียนแก้ผ่อนหนักให้เป็นเบาเสียหน่อย The War Bride Act ปี 1945 หลังสงครามโลกครั้งที่สอง คองเกรสผ่านกฎอิมมิเกรชั่นเรียก เดอะ วอร์ ไบรด์ แอกทส์ (The War Bride Act) หรือ เจ้าสาวสงคราม ให้อเมริกันจีไอ ที่ไปสงครามและไปมีครอบครัวตกหล่นในประเทศเหล่านั้น โดยออกวีซ่านำเจ้าสาวสงครามเข้าอเมริกาและทำใบเขียวให้ภายหลัง Mail Order Bride หลังจากสงครามโลก และกฎนี้ออกมา การส่งเจ้าสาวข้ามประเทศกลายเป็นธุรกิจใหญ่ นายหน้าหาคู่หรือเรียก “แมริเอจโบร๊คเค่อร์” (Marriage Broker) เปิดบริการหาคู่ให้ฝรั่งที่ต้องการแต่งงานกับสาวเอเชีย โดยเฉพาะประเทศฟิลิปปินส์ จะมีชื่อด้านนายหน้าหาคู่มากสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่สอง บริษัทนายหน้าจะมีรูปสาวเล็กสาวใหญ่ใส่อัลบั้ม ชายฝรั่งเปิดดูรูปและจิ้มนิ้วเลือกคู่ ทางนายหน้าก็รับบริการทำวีซ่าจัดการนำเจ้าสาวไปรษณีย์มาอเมริกาให้เสร็จ โดยที่ทั้งสองฝ่ายไม่เคยเห็นหน้ากันมาก่อน และไม่มีกฎเกณฑ์ในการยื่นขอวีซ่าคู่หมั้นให้ผู้หญิงหลายคนในเวลาเดียวกัน นี่คือบ่อเกิดของวีซ่าคู่หมั้นหรือ …
ข่าวอิมมิเกรชั่น
ช่วงระยะเดือนที่ผ่านมามีกฎหมายใหม่เกี่ยวกับ “เซ็กส์ ครายมน์ส” (Sex crimes) และ “คอนวิกเท็ด เซ็กส์ ออฟเฟ็นเด้อร์ส” (Convicted sex offenders) ที่ผ่านมาออกมามีผลกับการขอใบเขียวครอบครัว และแถมข่าวเกี่ยวกับระเบียบการยื่นขอเวิ้ร์คเพอร์มิทใหม่ (ขอหมายเหตุหน่อยนะคะ มีแฟนคอลัมน์เคยโทรมาบอกว่า ชอบที่ดิฉันเขียนคำอ่านทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ฉะนั้นวิธีที่ดิฉันเขียนจะตามวิธีอ่านภาษาอังกฤษเด๊ะเลยนะคะ) SEX CRIMES “เซ็กส์ ครายมน์ส” คือ อาชญากรรมที่เกี่ยวกับเรื่องเพศ รวมทั้งลวนลาม กระทำชำเลา ทำร้ายร่างกายสมาชิกในครอบครัว รวมทั้งตบตีคู่สมรส บุตร พ่อแม่ เรียก “ดอเม็สติค ไวโอเล็นซ์” (Domestic violence) มีเพศกับเด็ก รวมไปถึงอาชญากรรมสมัยใหม่ทางอินเตอร์เน็ท เช่น ถ่ายรูปโป๊เด็กและโพสท์รูปออนไลน์ (Child pornography through internet) แช็ทกับเด็กออนไลน์ด้วยเจตนาที่จะมีเพศกับเด็ก เป็นต้น (คุณสามารถอ่านข้อมูลเกี่ยวกับคดีอาญาทางเพศเพิ่ม ในหนังสือ “สิทธิของฉันในอเมริกาเล่มสองใหม่” บทที่ 7 ความอาญาที่ควรรู้ หน้า 7-5 หัวข้อข้อกล่าวหาคดีอาญา) CONVICTED …