Tom Cotton และ R-Ark จากพรรครีพลับบลิคันที่สนับสนุนทรัมป์ ได้ให้ชื่อเรียนแผกการของทรัมป์ว่า “generous and humane, while also being responsible” (ความเอื้อเฟื้อ ความมีมนุษยธรรมในความรับผิดชอบ) และยังกล่าวอีกว่านอกจากคุมครอง DACA แล้วเรายังต้องป้องกันประเทศจากความล้าหลังห้าปีโดยการกักกันชายแดนและยุติการย้ายถิ่นถามแบบchain megration
ที่เคยได้รับการคุ้มครองจากอดีตประธานาธิบดีโอบามา เรียกว่าโปรแกรม Obama-era Deferred Action for Childhood Arrivals (DACA) กับผู้ที่มีคุณสมบัติจำนวนหลายพันคนที่ไม่เคยสมัครเป็นซิติเซ่นจะได้รับซิติเซ่นเช่นกัน
ปี 1991 เป็นปีที่ Clarence Thomas ถูกแต่งตั้งให้เป็นท่านตุลาการ Anita Hill ผู้ร่วมงานเก่าเอาเรื่องของท่านมาเปิดโปงกล่าวหาว่า Thomas เคยพูดจาล่วงเกินทางชู้สาว (Sexual Harassment) ระหว่างที่เธอทำงานกับ Thomas ถึงแม้ว่า Thomas ได้ถูกแต่งตั้งเป็นท่านตุลาการก็ตาม แต่ผลออกมาคือ เปิดประตูทางให้ผู้หญิงกล้าที่จะออกมาเผชิญหน้าสู้ในศาลว่าตนถูก Harassed และไม่เห็นเป็นเรื่องน่าอายอีกต่อไป
คดีเผาธงชาติ (Flag Burning) Street v. New York (1969) หลังจากที่ผู้นำผิวดำนาย James Meredith นักต่อสู้เพื่อความเสมอภาคระหว่างผิวถูกลอบยิงตาย นาย Street ได้เผาธงชาติบนหัวมุมถนน และตะโกนด่ารัฐบาลว่า “เรามีธงชาติไว้หาสวรรค์อะไร เมื่อกฎหมายไม่คุ้มครอง ปล่อยให้นาย Meredith ตาย” นาย Street ถูกจับในข้อกล่าวหาเผาธงชาติในที่สาธารณชนตามกฎหมายรัฐนิวยอร์ค คดีขึ้นถึงศาลสูงสุด (U.S. Supreme Court) ศาลสูงสุดกลับคำตัดสิน และเขียนความเห็นว่า “รัฐนิวยอร์คไม่สามารถลงโทษผู้ทำลายหรือทำให้ธงชาติเสียหายในที่สาธารณะ เมื่อการกระทำนั้นเป็นการแสดงออกเพื่อประท้วงรัฐบาล กฎหมายนี้ละเมิดสิทธิรัฐธรรมนูญ”
หลังจากนั้นปี ค.ศ. 1980 มีคดีเผาธงชาติอีก ในรัฐเท็กซัส Texas v. Johnson ปี จำเลยชนะอีก
คดีดูหมิ่นธงชาติ (Contemptuous Treatment) Smith v. Goguen (1974) นาย Goguen ถูกจับในข้อกล่าวหาดูหมิ่นธงชาติตามกฎหมายรัฐแมสสาจูเซ็สท์ เมื่อเขานำเศษผ้าสี่เหลี่ยมลายธงชาติ เย็บปะก้นกางเกงและนั่งทับสัญลักษณ์ธงชาติ คดีขึ้นถึงศาลสูงสุด ศาลสูงสุดกลับคำตัดสิน และเขียนความเห็นว่า “ข้อระบุในกฎหมายห้ามแสดงการดูหมิ่นธงชาตินั้นกำกวม (vagueness) การลงโทษจำเลยในกรณีนี้ไม่ใช่เพื่อต้องการปกป้องความศักดิ์สิทธิ์ของผืนธงชาติ แต่เป็นการลงโทษในการสื่อความหมายเกี่ยวกับธงชาติ
สิทธิในการแสดงออกในอเม็นด์เม๊นท์ที่หนึ่ง รวมสิทธิในการไม่แสดงออก (Right Not To Speak) ในคดี West Virginia State Board of Education v. Barnette (1943) ศาลตัดสินว่าโรงเรียนไม่สามารถลงโทษเด็กนักเรียนที่ไม่ยอมยืนทำความเคารพธงชาติได้ เพราะบุคคลมีสิทธิเสถียรภาพที่จะไม่พูดหรือไม่แสดงออกได้
ปี 1989 คองเกรสผ่านร่างกฎหมายรัฐบาลกลางเรียก “กฎหมายปกป้องธงชาติ” “แฟล๊ก โพรเท็กชั่น แอ๊กท์” (Flag Protection Act of 1989) ลงโทษเป็นความอาญาถ้าผู้ใดมีเจตนาทำลายธงชาติอเมริกันในที่สาธารณะ ในปี 1990 หลังจากกฎหมาย“กฎหมายปกป้องธงชาติ” ผ่านออกมาศาลสูงสุดได้ตัดสินในคดีฉีกธงชาติ (Flag Mutilation Case) United States v. Eichman (1990) ว่ากฎหมายนี้ละเมิดสิทธิรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการออกความคิดเห็น (Suppression of free expression) หลังจากการตัดสินในคดี United States v. Eichman “กฎหมายปกป้องธงชาติ” โวทเข้าสภา แต่ไม่ผ่าน