ตอบคำถาม

ถาม ดิฉันมาอเมริกาได้ 10 กว่าปีแล้วยังไม่ได้หย่ากับสามีเก่าที่เมืองไทย ดิฉันได้จดทะเบียนสมรสกับแฟนใหม่หลายเดือนแล้ว ไม่กล้ายื่นเรื่องเพราะแฟนใหม่ไม่รู้ว่าดิฉันเคยแต่งงานมาก่อน ถ้าดิฉันยื่นเรื่องทำใบเขียวโดยไม่แจ้งว่าเคยแต่งงานมาก่อน ทางอิมมิเกรชั่นจะรู้หรือไม่

ตอบ ถ้าคุณให้ดิฉันเป็นคนทำใบเขียวให้ ดิฉันก็ต้องแนะนำให้คุณจัดการทำเรื่องหย่าที่เมืองไทยให้เรียบร้อยก่อน คุณสามารถหย่าได้โดยตัวไม่ต้องกลับเมืองไทย โดยจ้างทนายทางเมืองไทยทำเรื่องที่ศาล ถ้าผู้ชายเซ็นยินยอม ก็ควรจะได้เร็วประมาณ 4 เดือน ถ้าถามว่าทางอิมมิเกรชั่นจะรู้ไหม เป็นไปได้ค่ะ หรืออาจไม่รู้ ขึ้นอยู่กับว่าคุณแต่งงานที่เมืองไทยนานเท่าไรแล้วและแต่งต่างจังหวัดหรือในกรุงเทพ สมัยก่อนหน้ายุคคอมพิวเต้อร์ การเก็บข้อมูลในเมืองไทยยังตกหล่นได้ แต่ปัจจุบันเขาคงรู้ และอีกอย่างคือ ตอนคุณทำวีซ่าเข้ามาอเมริกาเมื่อ 10 ปีก่อน ถ้าคุณกรอกฟอร์มว่าคุณแต่งงานแล้วทางอิมมิเกรชั่นก็จะได้ข้อมูลนี้ค่ะ

ถาม ถ้าดิฉันทำเรื่องหย่าไปที่เมืองไทยตอนนี้ ดิฉันต้องทำเรื่องหย่าที่นี่กับแฟนใหม่ด้วยหรือไม่

ตอบ ดิฉันคิดว่าไม่ต้องนะคะ เพราะการสมรสครั้งนี้ถือเป็นการจดทะเบียนซ้อน ฉะนั้นเท่ากับการสมรสนี้เป็นโมฆะ หลังจากที่คุณหย่าทางเมืองไทยเซ็น คุณสามารถจดทะเบียนใหม่ได้เลยและยื่นเรื่องขอใบเขียวได้ ดิฉันได้ทำเคสแบบนี้โดยการสมรสถือเป็นโมฆะและเรื่องผ่าน ลูกความได้ใบเขียวเรียบร้อย (โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่ม หัวข้อ หย่าร้าง ในหนังสือ “สิทธิของฉันในอเมริกาเล่มสองใหม่” บทที่2 หน้า2-3 และในหนังสือ อยู่อเมริกา หัวข้อแต่งงานและหย่า หน้า 42))

ถาม ดิฉันอยู่เมืองไทย เคยจดทะเบียนกับสามีมีลูกหนึ่งคน ปัจจุบันสามีอยู่อเมริกาได้จดทะเบียนสมรสใหม่และได้ซิติเซ่นเรียบร้อยแล้ว และเขาได้ทำเรื่องลูกได้ใบเขียวไปอเมริกาแล้ว ดิฉันพึ่งไปทำเรื่องหย่าที่ศาลเสร็จต้นปีนี้ ดิฉันต้องการยื่นเรื่องขอวีซ่าท่องเที่ยวไปอเมริกาไปเยี่ยมลูก ไม่ทราบว่าจะบอกทางกงสุลว่าอย่างไร เกรงว่าจะเป็นปัญหาต่อสามีและลูก คุณรุจีรับทำวีซ่าท่องเที่ยวหรือไม่

ตอบ คำถามนี้ตอบยากจังค่ะ มีหลายประเด็น คือสรุปได้ว่าสามีเก่าคุณจดทะเบียนซ้อนและได้เบเนฟิต คือได้เป็นซิติเซ่นเรียบร้อยแล้ว ถ้าเรื่องเปิดเผยชึ้นมาภายหลังว่าเขาโกหกตอนทำใบเขียวและซิติเซ่น เขาคงไม่สูญซิติเซ่น เพราะเมื่อได้ซิติเซ่นแล้วจะไม่สูญง่ายๆ แต่ดิฉันเคยเห็นเคสทำนองนี้ที่ผู้ได้ซิติเซ่นจากการปกปิดข้อมูลบางอย่าง ที่ข้อมูลนี้ถ้าเปิดเผยเขาไม่สามารถจะได้ซิติเซ่นได้ ในกรณีนี้ ทางอิมมิเกรชั่นลงโทษด้วยไม่อนุญาตให้เขาทำใบเขียวให้คนอื่น คือไม่ให้คนอื่นได้รับเบเนฟิดต่อจากเขา ฉะนั้นลูกคุณเป็นเพียงใบเขียว ไม่แน่ว่าลูกคุณจะสูญเบเนฟิต (ใบเขียว) หรือไม่ แต่อย่างไรก็ตาม วกกลับมาเรื่องวีซ่าของคุณ เพราะคุณพึ่งไปหย่ามาเรียบร้อย ฉะนั้นทางรัฐบาลจะมีประวัติการแต่งและหย่าของคุณ เมื่อคุณไปทำวีซ่า คุณต้องกรอกข้อมูลหมด คือมีชื่อสามีเก่า ชื่อลูก สถานภาพของคุณ และรายชื่อญาติพี่น้องที่อยู่อเมริกา และสถานภาพของเขา ซึ่งคุณก็ต้องกรอกตามความจริงว่ามีบุตรอยู่อเมริกา คุณอาจไม่ต้องกรอกว่าสามีเก่าเป็นซิติเซ่นอยู่อเมริกาก็ได้ เพราะหย่ากันแล้ว แต่ตอนสัมภาษณ์แน่ใจว่าต้องถุกถาม อย่างไรก็ตามทางกงสุลก็คงรู้อยู่ดีจากชื่อที่คุณกรอกลงไป ถ้าคุณสถานภาพการงานการเงินดีคุณก็คงจะได้วีซ่าหรอกค่ะ ดิฉันรับทำวีซ่าท่องเที่ยวค่ะ

คำถามคำตอบปัญหาใบเขียวแต่งงาน

ถาม ดิฉันเข้ามาด้วยวีซ่าท่องเที่ยว วีซ่าขาดนานแล้ว มีแฟนเป็นใบเขียว อีกหนึ่งปีเขาได้ใบเขียวครบ 5 ปีถึงจะยื่นเรื่องทำซิติเซ่น ดิฉันควรแต่งงานและยื่นเรื่องทำใบเขียวตอนนี้เลยหรือคอยให้เขาได้ซิติเซ่นก่อน ถ้ายื่นเรื่องตอนนี้จะขอเวิ้ร์คเพอร์มิทได้หรือไม่

ตอบ คุณจะแต่งงานเดี๋ยวนี้หรือคอยก็ได้ค่ะแล้วแต่คุณทั้งสอง ถ้าคุณแต่งงานตอนนี้คุณจะยื่นเรื่องทำใบเขียวตอนนี้เลยก็ได้ค่ะ แต่คุณจะขอเวิ้ร์คเพอร์มิทไม่ได้ตอนนี้ เพราะคู่สมรสใบเขียวอยู่ภายใต้โควต้า ต้องรอจนกว่าโควต้ามาถึงก่อนซึ่งอีกหลายปี เมื่อแฟนได้เป็นซิติเซ่น คุณถึงจะทำเรื่อง upgrade เคสจากกรุ๊บคู่สมรสใบเขียวเป็นคู่สมรสซิติเซ่น และในขณะเดียวกันคุณยื่นเรื่องเปลี่ยนสถานภาพขอใบเขียวและขอเวิ้ร์คเพอร์มิทได้ตอนนั้น

ถาม ผมเป็นซิติเซ่น แต่งงานและทำใบเขียวให้ภรรยาปีที่แล้ว ตอนนี้ภรรยาได้ใบเขียวเงื่อนไข 2 ปี ผมต้องการหย่าจะหย่าตอนนี้เลยได้หรือไม่ ภรรยาจะศูนย์ใบเขียวหรือไม่ ถ้าผมหย่าเสร็จผมต้องคอยนานเท่าไรถึงจะแต่งงานใหม่และทำใบเขียวให้คนใหม่ได้

ตอบ คุณสามารถหย่าได้ค่ะ เนื่องจากภรรยามีใบเขียวเงื่อนไข 2 ปี หมายความว่าคุณทั้งสองต้องยื่นเรื่องเข้าไปก่อนใบเขียวหมดอายุ ถ้าคุณหย่าตอนนี้ ภรรยาจะศูนย์ใบเขียว นอกจากเธอจะยื่นเรื่องภรรยาขอใบเขียวถาวรด้วยตนเอง โดยต้องทำเรื่องขอผ่อนผัน ซึ่งอาจจะผ่านหรือไม่ผ่าน แต่ถ้าระหว่างก่อนใบเขียวหมดอายุ ภรรยาเองก็ได้แต่งงานกับซิติเซ่นใหม่ เธอสามารถยื่นเรื่องขอใบเขียวใหม่กับแฟนคนใหม่ได้ วกกลับมาในกรณีคุณ เมื่อคุณหย่าเสร็จคุณสามารถแต่งงานใหม่ได้เลยค่ะไม่ต้องคอย และยื่นเรื่องขอใบเขียวให้แฟนใหม่ได้เลย คุณอาจถูกเคี่ยวมากหน่อยวันสัมภาษณ์ แต่ก็ไม่ควรเป็นปัญหานัก อ่านจากจดหมายคุณดูคุณยังห่วงภรรยาเรื่องใบเขียวเขาอยู่ ขอให้ความเห็นว่า ถ้าพออยู่กันได้ไม่เหลือบ่ากว่าแรงคอยจนกระทั่งทำใบเขียวถาวรให้ภรรยาเสร็จตลอดรอดฝั่งและถึงหย่า ก็คงได้บุญนะคะ

ถาม ดิฉันได้ใบเขียวชั่วคราวจากการแต่งงานมาหนึ่งปีแล้ว เราเข้ากันไม่ได้ ดิฉันอยากหย่ามาก ถ้าแฟนไม่ยอมจะทำอย่างไร และถ้าหย่าตอนนี้จะศูนย์ใบเขียวไหม

ตอบ ดูคำถามคำตอบข้างบนนะคะ อาจเข้าทำนองเดียวกัน ถ้าคุณหย่าตอนนี้คุณจะศูนย์ใบเขียวค่ะ แต่ถ้าคุณต้องการหย่า ตามกฎหมายรัฐส่วนมากหย่าได้ค่ะไม่ต้องรอว่าคู่สมรสจะยินยอมหรือไม่ ถึงแฟนไม่ยอมก็หย่าได้ค่ะ(โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่ม หัวข้อ หย่าร้าง ในหนังสือ “สิทธิของฉันในอเมริกาเล่มสองใหม่” บทที่2 หน้า2-3 และในหนังสือ อยู่อเมริกา หัวข้อแต่งงานและหย่า หน้า 42))

ถาม ถ้าดิฉันหย่าตอนนี้ และดิฉันแต่งงานใหม่ และทำเรื่องขอใบเขียวถาวรกับสามีใหม่ได้หรือไม่

ตอบ ถ้าคุณหย่าขณะมีใบเขียวเงื่อนไข หรือใบเขียวชั่วคราวซึ่งมีอายุ 2 ปี กับสามีเก่า เมื่อคุณแต่งงานใหม่ ใบเขียวเก่าจะขาดเพราะคุณยังไม่ได้ทำเรื่องขอยกเลิกเงื่อนไข เมื่อคุณแต่งงานใหม่ คุณต้องยื่นเรื่องขอใบเขียวใหม่ ซึ่งคุณจะได้ใบเขียวเงื่อนไขหรือใบเขียวชั่วคราวเท่านั้น (โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่ม ใบเขียวเงื่อนไข ในหนังสือ “สิทธิของฉันในอเมริกาเล่มสองใหม่” บทที่ 4 หน้า4-16)

ตอบคำถามอีเมล์และจดหมาย

ตอบคำถามที่ค้างๆทางอีเมล์และจดหมาย
ถาม ดิฉันอยู่วอชิงตัน เช่าตึกทำการค้ามาหลายปี ต่อสัญญาเช่าเรื่อยๆไม่มีปัญหาอะไร เมื่อเดือนมีนาที่ผ่านมาสัญญาเช่าหมดถึงเวลาต้องต่อสัญญาเช่าอีก ดิฉันได้ต่อรองราคาค่าเช่า แลนด์ลอร์ดบอกจะรับพิจารณา หลายอาทิตย์ต่อมา ได้โทรไปตามเขาบอกตกลงจะลดให้ และบอกจะส่งสัญญาเช่ามาให้ใหม่ จนป่านนี้ยังไม่ได้รับ ตอนนี้ดิฉันยังส่งค่าเช่าทุกเดือนตามสัญญาเดิม ขอความเห็นว่าดิฉันควรจะทำอย่างไรเพราะเป็นกังวลมาก เพราะอยากปรับปรุงร้านแต่ไม่กล้ากลัวจะลงเงินเปล่าเพราะยังไม่มีสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร

ตอบ ขอตอบแยกเป็นประเด็นเลยนะคะ (1) ในแง่กฎหมายเมื่อสัญญาเช่าหมด และคุณอยู่ต่อไปเรื่อยๆ เท่ากับคุณกลายเป็นผู้เช่าเดือนต่อเดือนหรือ month to month tenant คุณจ่ายค่าเช่าตามสัญญาเดิมที่เคยจ่ายอยู่ซึ่งคุณทำถูกแล้ว(2) เมื่อคุณตกลงกับแลนด์ลอร์ดเป็นคำพูด และแลนด์ลอร์ดตกลง ในแง่กฎหมาย ถ้าไม่มีลายลักษณ์อักษรแต่อาจเป็นข้อผูกมัดได้ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเชื่อในข้อตกลงนั้นและได้ลงทุนทำอะไรบางอย่าง แต่ในกฎหมายก็มีการขัดกันในตัวที่ว่าสัญญากินหนึ่งปีต้องเป็นลายลักษณ์อักษร กรณีนี้ขอแนะนำให้คุณส่งค่าเช่าทางไปรษณีย์จำนวนตามข้อตกลงใหม่ และเขียนจดหมายกำกับอ้างถึง ข้อตกลงที่บอกด้วยปากเปล่า ณ.วันที่นั้นๆ และในจดหมายขอให้แลนด์ลอร์ดส่งสัญญาเช่ามาให้ บอกเขาว่าคุณมีแผนที่จะปรับปรุงร้านเริ่มเดือนหน้า หรืออะไรทำนองนั้น เพื่อกำหนดวันไปในตัวให้เขาเร่งทำสัญญา (3) คุณคิดถูกแล้วที่ยังไม่เริ่มลงทุนทำร้าน แต่ถ้าขอความเห็นดิฉัน ไม่คิดว่าคุณต้องกังวล ฟังแล้วดูเหมือนแลนด์ลอร์ดคุณทำธุรกิจแบบโอลด์ไทม์เม่อร์ คือเมื่อไรก็ได้หรือ “มันยาน่า คือพรุ่งนี้ก็ได้ เป็นไงคะหลายภาษาดีไหม” ไม่รีบร้อนอะไร ฉะนั้นต้องเป็นหน้าที่คุณที่จะเขียนจดหมายเป็นลายลักษณ์อักษร เขียนละเอียดถึงค่าเช่า สัญญากี่ปี วันเดือนที่ตกลงกัน และขออนุญาตจ่ายค่าเช่าใหม่ ณ. เดือนนี้ เก็บสำเนาจดหมายไว้เมื่อส่งถึงแกดิฉันเชื่อว่าทันทีที่แกได้ค่าเช่า แกคงโทรหาคุณเอง เพราะค่าเช่าลดลง (ขอบคุณเช่นเดียวกันค่ะ ที่สามารถให้ความรู้กับคุณได้)

ถาม ดิฉันอยู่ในอเมริกาวีซ่าขาดแล้ว ถ้าดิฉันถูกล็อตเตอรี่ใบเขียว ดิฉันจะรับใบเขียวในอเมริกาได้หรือไม่

ตอบ ไม่ได้ค่ะ เพราะคุณ overstay คุณต้องกลับไปรับเมืองไทยและถ้าคุณกลับไปคุณก็จะกลับเข้าประเทศไม่ได้ มีข้อแม้ถ้าคุณเคยยื่นเรื่องขอใบเขียวก่อนเมษา 2001 ภายใต้มาตรา 245i คุณจะอยู่รับใบเขียวที่นี่ได้โดยจ่ายค่าปรับ $1,000 ค่ะ
ถาม ใบขับขี่ของดิฉันจะหมดกุมภาปี 2007 ดิฉันอยู่รัฐนอร์ทคาโรไลน่า ดิฉันจะต่อใบขับขี่ได้หรือไม่ ในหนังสือสิทธิของฉันในอเมริกาเล่มหนึ่งหน้า 1-8 บอกว่าบุชได้ผ่านกฎหมาย Intelligence Reform and Terrorism Prevention Act of 2004 จะมีผลบังคับใช้กลางปี 2006 หรือ 2007 คะ
ตอบ กฎหมายหลายหมวดมีผลบังคับใช้และผ่านมาประปรายเรื่อยๆค่ะ เรื่องใบขับขี่ บุชออกกฎหมายให้กระทรวงคมนาคมวางระบบออกใบขับขี่รุ่นใหม่พร้อมมี security feature คนปลอมไม่ได้ ให้เสร็จปีหน้า และกฎต่างๆเกี่ยวกับก่อนออกใบขับขี่ต้องตรวจสถานภาพ เนื่องจากการออกใบขับขี่เป็นอำนาจของรัฐ ฉะนั้นบางรัฐจะมีกฎเกณฑ์ของเขา บางรัฐไม่ยอมตรวจสถานภาพผู้ขอใบขับขี่ ได้ยินว่ารัฐฟลอริด้า นายกเทศมนตรี เจ๊บ บุช น้องชายบุชขัดกับพี่ชายตรงนี้ ฉะนั้นคุณต้องเช็คไปที่ Department of Motor Vehicle ในรัฐคุณ หรือแห่งที่ใกล้บ้านคุณที่สุด หรือถามเพื่อนฝูงที่พึ่งไปทำว่าเขาขอหลักฐานอะไรบ้าง(โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่ม ใบขับขี่และบัตรประชาชน ในหนังสือ “สิทธิของฉันในอเมริกาเล่มหนึ่งใหม่” บทที่ 1 หน้า1-8และในหนังสือ อยู่อเมริกา หัวข้อใบขับขี่รุ่นใหม่ หน้า 47))

วีซ่าคู่หมั้น / Sex Offender

เพื่อนดิฉันอ่านคอลัมน์สัปดาห์ที่แล้ว ที่ดิฉันเขียนเกี่ยวกับ“เซ็กส์ ครายมน์ส” (Sex crimes) และ “คอนวิกเท็ด เซ็กส์ ออฟเฟ็นเด้อร์ส” (Convicted sex offenders) บอกว่าอ่านแล้วน่ากลัว คนไหนคิดแต่งงานเพื่อเอาใบเขียวอาจทำให้ขยาดถ้าอ่านคอลัมน์ดิฉัน ก็เลยคิดว่าสัปดาห์นี้ต้องเขียนแก้ผ่อนหนักให้เป็นเบาเสียหน่อย
The War Bride Act
ปี 1945 หลังสงครามโลกครั้งที่สอง คองเกรสผ่านกฎอิมมิเกรชั่นเรียก เดอะ วอร์ ไบรด์ แอกทส์ (The War Bride Act)

หรือ เจ้าสาวสงคราม ให้อเมริกันจีไอ ที่ไปสงครามและไปมีครอบครัวตกหล่นในประเทศเหล่านั้น โดยออกวีซ่านำเจ้าสาวสงครามเข้าอเมริกาและทำใบเขียวให้ภายหลัง

Mail Order Bride
หลังจากสงครามโลก และกฎนี้ออกมา การส่งเจ้าสาวข้ามประเทศกลายเป็นธุรกิจใหญ่ นายหน้าหาคู่หรือเรียก “แมริเอจโบร๊คเค่อร์” (Marriage Broker) เปิดบริการหาคู่ให้ฝรั่งที่ต้องการแต่งงานกับสาวเอเชีย โดยเฉพาะประเทศฟิลิปปินส์ จะมีชื่อด้านนายหน้าหาคู่มากสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่สอง บริษัทนายหน้าจะมีรูปสาวเล็กสาวใหญ่ใส่อัลบั้ม ชายฝรั่งเปิดดูรูปและจิ้มนิ้วเลือกคู่ ทางนายหน้าก็รับบริการทำวีซ่าจัดการนำเจ้าสาวไปรษณีย์มาอเมริกาให้เสร็จ โดยที่ทั้งสองฝ่ายไม่เคยเห็นหน้ากันมาก่อน และไม่มีกฎเกณฑ์ในการยื่นขอวีซ่าคู่หมั้นให้ผู้หญิงหลายคนในเวลาเดียวกัน นี่คือบ่อเกิดของวีซ่าคู่หมั้นหรือ ฟิอองเซวีซ่า Fiancee Visa หรือบางทีเรียกวีซ่าแม่หวานใจ หรือ สวีทฮาร์ทสวีซ่า (Sweetheart’s visa)บริษัทนายหน้าหาคู่กลายเป็นธุรกิจใหญ่เป็นล่ำเป็นสัน

วีซ่าคู่หมั้น
ในปี 1986 ภายใต้กฎหมาย Immigration Marriage Fraud คองเกรสได้เพิ่มเงื่อนไขวีซ่าคู่หมั้นเพื่อปกป้องการแต่งงานปลอม โดยมีเงื่อนไขว่า ก่อนทำวีซ่าคู่หมั้นได้ คู่หมั้นต้องได้พบตัวคือเห็นหน้ากันแล้วภายในระยะสองปีก่อนยื่นเรื่อง และเมื่อเข้าประเทศแล้วทั้งสองต้องแต่งงานกันภายใน 90 วันนับจากวันที่เข้าประเทศ (โปรดอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับวีซ่าคู่หมั้น ในหนังสือ “สิทธิของฉันในอเมริกาเล่มหนึ่งใหม่” หน้า 3-13 และหน้า 4-15) หมายเหตุ ดิฉันต้องแก้ข้อมูลในหนังสือ ที่เขียนว่าทั้งสองต้องรู้จักกันอย่างน้อยสองปีก่อนยื่นวีซ่าคู่หมั้น นั้นเป็นข้อมูลผิด ที่ถูกคือ ไม่มีกำหนดว่าต้องรู้จักกันนานเท่าไร แต่ต้องเคยพบหน้ากันแล้วภายในสองปีก่อนยื่นเรื่อง

กฎหมายใหม่ปกป้องคู่หมั้น
คองเกรสพึ่งผ่านกฎหมายใหม่ปกป้องคู่หมั้นเรียก The International Marriage Broker Regulation Act of 2005 และบุชพึ่งเซ็นผ่านต้นปี 2006 รายละเอียดดังนี้

  • ห้ามนายหน้าหาคู่ ลงรูปเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี
  • นายหน้ามีหน้าที่ต้องตรวจรายชื่อ รายชื่อประวัติคนที่มีคดีทางเพศ (Sex Offenders) และต้องให้ข้อมูลนั้นต่อเจ้าสาวไปรษณีย์
  • ต้องให้ข้อมูลและประวัติของชายฝรั่ง (คู่หมั้นในอนาคต) ต่อเจ้าสาวไปรษณีย์
  • นายหน้ามีความรับผิดชอบที่ต้องบอกเจ้าสาวไปรษณีย์ถึงสิทธิและแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับเหยื่อที่ถูกทารุณกรรมในครอบครัวในประเทศนี้ เพื่อเจ้าสาวจะได้เช็คข้อมูลและตัดสินด้วยตนเองได้
  • มีกฎให้รัฐบาลในอเมริกาแชร์ข้อมูลแบ็คกราวน์เช็คทางอาญาของผู้ชายฝรั่ง กับรัฐบาลในประเทศนั้นๆที่เจ้าสาวอยู่
  • ห้ามขอวีซ่าคู่หมั้นหลายคนในเวลาเดียวกัน
  • ผู้มีคดีทางเพศยื่นใบเขียวให้ครอบครัวไม่ผ่าน

ตามที่ลงข้อมูลสัปดาห์ที่แล้ว กฎหมาย“เซ็กส์ ออฟเฟ็นเด้อร์ บิล” (Sex Offender Bill) ชื่อ The Adam Walsh Child Protection and Safety Act of 2006 พึ่งผ่านออกมาเมื่อเดือนกรกฎาคม ปกป้องเด็กจาก “เซ็กส์ เพรเดเท้อร์” (sex predators) แปลตรงตัวแล้วกันนะคะ คือ “คนล่าเหยื่อทางเพศ” โดยไม่แอ็พพรูฟเรื่องการทำใบเขียวที่ “คอนวิกเท็ด เซ็กส์ ออฟเฟ็นเด้อร์ส” ยื่นให้ครอบครัว และถ้าผู้ใดที่มีใบเขียวหรือชาวต่างขาติที่มีคดีเกี่ยวกับ “เซ็กส์ ครายมน์ส”และไม่ขึ้นทะเบียน ให้ถือเป็นความผิดทางอาญาที่สามารถถูกเนรเทศได้ โดยปกติตามกฎหมาย “คอนวิกเท็ด เซ็กส์ ออฟเฟ็นเด้อร์ส” ต้องขึ้นทะเบียนคล้ายๆประจานตนเอง และสาธารณชนสามารถเช็คเข้าไปทางอินเตอร์เน็ทดูรายชื่อ “คอนวิกเท็ด เซ็กส์ ออฟเฟ็นเด้อร์ส” ได้ คุณคงเคยได้ยินหรืออ่านข่าวบ่อยๆที่เมื่อไร “คอนวิกเท็ด เซ็กส์ ออฟเฟ็นเด้อร์ส” ย้ายไปอยู่เขตไหน จะมีเพื่อนบ้านออกมาร้องเรียนขับไล่ไม่ให้เขามาอยู่ นอกจากนี้อเมริกันซิติเซ่นหรือผู้ถือใบเขียวที่มีคดีทางเพศเกี่ยวกับเด็กไม่สามารถยื่นเรื่องขอใบเขียวให้คู่สมรส พ่อแม่ พี่น้อง และบุตรได้เลย นอกจากจะยื่นเรื่องขอผ่อนผันก่อน

กฎหมายเข้มงวดขอวีซ่าคู่หมั้นและ K-3
อีกกฎหมายหนึ่งคือ เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม 2006 ผู้ที่ยื่นขอวีซ่าคู่หมั้น K-1 และวีซ่า K-3 (โปรดอ่านรายละเอียดวีซ่า K-3 ในหนังสือ “สิทธิของฉันในอเมริกาเล่มหนึ่งใหม่” บทที่ 3 ระบบวีซ่า หน้า 3-14 หัวข้อข้อกล่าวหาคดีอาญา) ทางอิมมิเกรชั่นจะต้องตรวจประวัติว่ามีประวัติเสียเกี่ยวกับการทารุณกรรมทางเพศหรือไม่ และผู้ยื่นต้องเปิดเผยว่าตนมีประวัติติดตัวหรือไม่ ถ้ามีต้องทำเรื่องขอผ่อนผันก่อน ฉะนั้นตอนนี้การยื่นขอวีซ่าคู่หมั้นหรือ K-3 จะใช้เวลานานขึ้น

Violence against Women Act
ในปี 1994 คองเกรสได้ผ่านกฎหมาย Violence against Women Act ช่วยผู้หญิงและเด็ก (ลูกติดภรรยา) ที่ถูกคู่สมรสทำทารุณกรรม ผู้หญิงสามารถยื่นขอใบเขียวด้วยตนเองได้ และถ้ามีลูกติด ถ้าเรื่องแม่ผ่านเด็กจะได้ใบเขียวด้วย และในกรณีที่ภรรยาได้ใบเขียวชั่วคราว ระหว่างคอยใบเขียวถาวร ถ้ามีการทารุณกรรมเกิดขึ้น ผู้หญิงสามารถยื่นเรื่องขอยกเลิกเงื่อนไขด้วยตนเองได้เช่นกัน (โปรดอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับหญิงถูกทารุณ ในหนังสือ “สิทธิของฉันในอเมริกาเล่มหนึ่งใหม่” หน้า 4-17 หัวข้อ ภรรยาและ/หรือเด็กถูกทารุณ) อย่างไรก็ตามขั้นตอนการทำใบเขียวจากการทารุณกรรมนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก คุณจะต้องมีหลักฐานและมีการบันทึกข้อมูล ควรจะมีการแจ้งความตำรวจ และหลักฐานประกอบ ขอให้คุณปรึกษาทนาย

ฉะนั้นถ้าคุณโชคไม่ดี ได้สามีที่มีปัญหา คือชอบลงไม้ลงมือ ก็ไม่จำเป็นต้องทน ยังมีทางออกได้เพราะกฎหมายที่นี่คุ้มครองสิทธิผู้หญิงมาก ที่ดิฉันขอแนะนำก่อนที่จะเกิดเรื่องหรือให้โอกาสสามีก่อน โดยคุณสามารถเตือนหรือขู่สามีได้ว่า ถ้าเขาลงไม้ลงมือกับคุณ และถ้าคุณแจ้งความ จะทำให้เขาประวัติเสียมี sex crimes ติดตัว และจะเป็นผลทำให้เขาขอวีซ่าคู่หมั้น และทำใบเขียวให้ผู้หญิงคนใหม่ไม่ได้ในอนาคต หรือถ้าถึงขั้นรุนแรงถึงโรงขึ้นศาลเป็นคดีอาญา และเขาแพ้คดี เขาต้องขึ้นทะเบียนเป็น sex offender จะเป็นประวัติเสียติดตัวเขาไปตลอดชีวิต จะย้ายไปอยู่ที่ไหน ซื้อบ้านที่ไหนต้องเปิดเผยว่าตัวเองเป็น sex offender

ข่าวอิมมิเกรชั่น

ช่วงระยะเดือนที่ผ่านมามีกฎหมายใหม่เกี่ยวกับ “เซ็กส์ ครายมน์ส” (Sex crimes) และ “คอนวิกเท็ด เซ็กส์ ออฟเฟ็นเด้อร์ส” (Convicted sex offenders) ที่ผ่านมาออกมามีผลกับการขอใบเขียวครอบครัว และแถมข่าวเกี่ยวกับระเบียบการยื่นขอเวิ้ร์คเพอร์มิทใหม่ (ขอหมายเหตุหน่อยนะคะ มีแฟนคอลัมน์เคยโทรมาบอกว่า ชอบที่ดิฉันเขียนคำอ่านทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ฉะนั้นวิธีที่ดิฉันเขียนจะตามวิธีอ่านภาษาอังกฤษเด๊ะเลยนะคะ)
SEX CRIMES
“เซ็กส์ ครายมน์ส” คือ อาชญากรรมที่เกี่ยวกับเรื่องเพศ รวมทั้งลวนลาม กระทำชำเลา ทำร้ายร่างกายสมาชิกในครอบครัว รวมทั้งตบตีคู่สมรส บุตร พ่อแม่ เรียก “ดอเม็สติค ไวโอเล็นซ์” (Domestic violence) มีเพศกับเด็ก รวมไปถึงอาชญากรรมสมัยใหม่ทางอินเตอร์เน็ท เช่น ถ่ายรูปโป๊เด็กและโพสท์รูปออนไลน์ (Child pornography through internet) แช็ทกับเด็กออนไลน์ด้วยเจตนาที่จะมีเพศกับเด็ก เป็นต้น (คุณสามารถอ่านข้อมูลเกี่ยวกับคดีอาญาทางเพศเพิ่ม ในหนังสือ “สิทธิของฉันในอเมริกาเล่มสองใหม่” บทที่ 7 ความอาญาที่ควรรู้ หน้า 7-5 หัวข้อข้อกล่าวหาคดีอาญา)

CONVICTED SEX OFFENDERS
“คอนวิกเท็ด เซ็กส์ ออฟเฟ็นเด้อร์ส” คือผู้ที่ถูกคอนวิกเท็ดหรือถูกตัดสินแล้ว ว่ากระทำผิดทางด้าน“เซ็กส์ ครายมน์ส”

ผู้มีคดีทางเพศยื่นใบเขียวให้ครอบครัวไม่ผ่าน
เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2006 ประธานาธบดีบุชเซ็นผ่านกฎหมาย“เซ็กส์ ออฟเฟ็นเด้อร์ บิล” (Sex Offender Bill) ชื่อ The Adam Walsh Child Protection and Safety Act of 2006 ปกป้องเด็กจาก “เซ็กส์ เพรเดเท้อร์” (sex predators) แปลตรงตัวแล้วกันนะคะ คือ “คนล่าเหยื่อทางเพศ” โดยไม่แอ็พพรูฟเรื่องการทำใบเขียวที่ “คอนวิกเท็ด เซ็กส์ ออฟเฟ็นเด้อร์ส” ยื่นให้ครอบครัว และถ้าผู้ใดที่มีใบเขียวหรือชาวต่างขาติที่มีคดีเกี่ยวกับ “เซ็กส์ ครายมน์ส”และไม่ขึ้นทะเบียน ให้ถือเป็นความผิดทางอาญาที่สามารถถูกเนรเทศได้ โดยปกติตามกฎหมาย “คอนวิกเท็ด เซ็กส์ ออฟเฟ็นเด้อร์ส” ต้องขึ้นทะเบียนคล้ายๆประจานตนเอง และสาธารณชนสามารถเช็คเข้าไปทางอินเตอร์เน็ทดูรายชื่อ “คอนวิกเท็ด เซ็กส์ ออฟเฟ็นเด้อร์ส” ได้ คุณคงเคยได้ยินหรืออ่านข่าวบ่อยๆที่เมื่อไร “คอนวิกเท็ด เซ็กส์ ออฟเฟ็นเด้อร์ส” ย้ายไปอยู่เขตไหน จะมีเพื่อนบ้านออกมาร้องเรียนขับไล่ไม่ให้เขามาอยู่

นอกจากนี้อเมริกันซิติเซ่นหรือผู้ถือใบเขียวที่มีคดีทางเพศเกี่ยวกับเด็กไม่สามารถยื่นเรื่องขอใบเขียวให้คู่สมรส พ่อแม่ พี่น้อง และบุตรได้เลย นอกจากจะยื่นเรื่องขอผ่อนผันก่อน

กฎหมายเข้มงวดขอวีซ่าคู่หมั้นและ K-3
อีกกฎหมายหนึ่งคือ เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม 2006 ผู้ที่ยื่นขอวีซ่าคู่หมั้น K-1 และวีซ่า K-3 (โปรดอ่านรายละเอียดวีซ่า K-3 ในหนังสือ “สิทธิของฉันในอเมริกาเล่มหนึ่งใหม่” บทที่ 3 ระบบวีซ่า หน้า 3-14 หัวข้อข้อกล่าวหาคดีอาญา) ทางอิมมิเกรชั่นจะต้องตรวจประวัติว่ามีประวัติเสียเกี่ยวกับการทารุณกรรมทางเพศหรือไม่ และผู้ยื่นต้องเปิดเผยว่าตนมีประวัติติดตัวหรือไม่ ถ้ามีต้องทำเรื่องขอผ่อนผันก่อน ฉะนั้นตอนนี้การยื่นขอวีซ่าคู่หมั้นหรือ K-3 จะใช้เวลานานขึ้น

เปลี่ยนออฟฟิสยื่นต่อใบทำงาน
เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2006 ขึ้นไป ผู้ที่ยื่นเรื่องต่อใบทำงานหรือ “เวิร์คเพอร์มิท” ต้องส่งเรื่องไปที่ศูนย์อิมมิเกรชั่น ศูนย์ใดศูนย์หนึ่งคือ California Service Center, Texas Service Center, Vermont Service Center หรือ Nebraska Service Center (โปรดอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับ Service Centers ในหนังสือ “สิทธิของฉันในอเมริกาเล่มหนึ่งใหม่” บทที่ 4 ใบเขียว หน้า 4-4) และแนะนำให้ยื่นก่อนเวิร์คเพอร์มิทหมดอายุ 100 วัน เพื่อจะได้รับใบใหม่ทัน ก่อนหน้านี้ผู้ขอต่อเวิร์คเพอร์มิทสามารถเข้าไปยื่นเรื่องที่อิมมิเกรชั่นออฟฟิสท้องถิ่นที่ใกล้บ้านคุณที่สุด โดยปกติถ้าคุณยื่นเรื่องขอเวิร์คเพอร์มิทพร้อมขอใบเขียวแต่งงาน คุณจะยื่นเรื่องพร้อมกันตอนจอใบเขียวไปที่ชิคาโก้ล็อคบ็อกส์ อันนี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลง

ดิฉันได้รับคำถามทางอีเมล์ 3-4 ฉบับที่ไม่ได้ตอบ คำถามเหล่านี้มีรายละเอียดมากที่ดิฉันไม่สามารถตอบได้ เพราะถ้าจะตอบได้ จะต้องรู้ข้อมูลและเคสของคุณละเอียดมาก กรุณาลิมิทคำถามทั่วไปในแง่กฎหมายหรือถ้าเป็นส่วนตัว ถ้าไม่เจาะลึกมากนัก ดิฉันจะตอบให้ค่ะ

“ไทม์ไลน์”ในการขอใบเขียวภายใต้โควต้า

ประกาศ ผลงานของดิฉันทั้งหมดมีหนังสือ 6 เล่มดังนี้ “รวมคอลัมน์กฎหมายเล่ม 1 เล่ม 2 เล่ม 3 ซึ่งรวมคอลัมน์เขียนลงเสรีชัยแต่ละสัปดาห์มีเนื้อหาสาระทั่วไปด้านกฎหมาย ทั้งสามเล่ม $60 หนังสือ “สิทธิของฉันในอเมริกา เล่ม 1 และเล่ม ,2 ฉบับ update เล่มละ $45 ให้ความรู้กฎหมายทั่วไปรวม กฎหมายอิมมิเกรชั่น กฎหมายเกี่ยวกับนายจ้างและลูกจ้าง แลนด์ลอร์ดและผู้เช่า บ้านและที่ดินการถือกรรมสิทธิ์ที่ดินในเมืองไทย กฎหมายครอบครัวและหย่าร้าง หนี้สินและเครดิตคาร์ด มรดกพินัยกรรม และลิฟวิ่งทรัสต์ ศาลและคดีอาญาต่างๆ และหนังสือเล่มใหม่ล่าสุดชื่อ “อยู่อเมริกา” เล่มละ $35 ให้ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอเมริกา ความเป็นอยู่และสังคมของคนอเมริกัน เพื่อให้คุณเข้าใจคนอเมริกัน ความนึกคิดของเขา และรู้จักสังคมอเมริกัน ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถดำรงชีวิตประจำวันอยู่ในอเมริกาง่ายขึ้น
เดือนก.ค.ที่ผ่านมาดิฉันเขียนถึงระยะเวลาหรือไทม์ไลน์ในการขอใบเขียวแต่งงานในอเมริกา และขอใบเขียวผ่านกงสุลในเมืองไทย มีแฟนคอลัมน์โทรมาถามเรื่องขอใบเขียวครอบครัวว่าทำไมเรื่องถึงช้าเป็นปีๆหลังจากได้ใบ “แอ็พพรูฟเวิ้ล” ก็ขอเคลียร์ไทม์ไลน์หรือระยะเวลาในการรอใบเขียวกรุ๊บอื่น

กรุ๊บใบเขียวครอบครัว
ผู้ที่เป็นซิติเซ่นหรือผู้ถือใบเขียวสามารถแอ็พพลายใบเขียวให้พ่อแม่ คู่สมรส บุตร และพี่น้อง เพื่อนำมาอยู่ด้วยได้ (คุณสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเกี่ยวกับใบเขียวครอบครัว ในหนังสือ “สิทธิของฉันในอเมริกาเล่มหนึ่งใหม่” บทที่ 4 หน้า 4-8) ตามกฎหมายอิมมิเกรชั่นได้แบ่งใบเขียวครอบครัวออกเป็น 5 กรุ๊บ โดยแบ่งตามความสัมพันธ์จากใกล้ชิดถึงห่างออกไป ดังนี้

กรุ๊บแรกเรียก “อิมมีเดียท เรเลทีฟ” คือกรุ๊บที่ใกล้ชิดกับตัวซิติเซ่นผู้ขอมากที่สุด คือคู่สมรส พ่อแม่ และบุตรที่อายุต่ำกว่า 21 ปีที่ยังไม่แต่งงานหรือหย่าแล้ว รวมลูกเลี้ยงและบุตรบุญธรรม ลูกเลี้ยงหรือ step child คือลูกติดจากคู่สมรส เมื่อซิติเซ่นแต่งงาน และคู่สมรสทีลูกติด เด็กถือเป็น step child ซิติเซ่นสามารถยื่นเรื่องทำใบเขียวให้เด็กได้ โดยมีเงื่อนไขว่า ซิติเซ่นต้องจดทะเบียนสมรสกับพ่อหรือแม่เด็กก่อนเด็กอายุ 18 ปี ส่วนลูกบุญธรรมซิติเซ่นต้องทำเรื่องรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมเสร็จสิ้นก่อนเด็กอายุ 16 ปี กรุ๊บ“อิมมีเดียท เรเลทีฟ”นี้จะขอใบเขียวได้เร็วประมาณ 4-8 เดือน ตามไทม์ไลน์ที่ลงในคอลัมน์สัปดาห์ที่ 7/29/2006 และ 7/15/2006 เพราะกรุ๊บนี้ ไม่จัดอยู่ในระบบโควต้า จึงไม่ต้องคอยนาน

กรุ๊บสองถึงกรุ๊บห้าเรียก “กรุ๊บเพร็ฟเฟอเร็นซ์” โดยแบ่งเป็นกรุ๊บเพร็ฟเฟอเร็นซ์หนึ่ง สอง สาม และสี่ ทั้งสี่กรุ๊บเพร็ฟเฟอเร็ซ์อยู่ภายใต้ระบบโควต้า (คุณสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเกี่ยวกับใบเขียวครอบครัว ในหนังสือ “สิทธิของฉันในอเมริกาเล่มหนึ่งใหม่” บทที่ 4 หน้า 4—6 หัวข้อ ระบบโควต้า)แต่ละปีอิมมิเกรชั่นกำหนดจำนวนโควต้าใบเขียวแต่ละกรุ๊บ แต่ละกรุ๊บไม่กี่หมื่นใบต่อปีและต้องเฉลียให้แต่ละประเทศ เมื่อมีคนขอใบเขียวแต่ละกรุ๊บมากกว่าจำนวนใบเขียวในปีนั้นๆ คนที่ยื่นเรื่องมาก่อนก็ได้ก่อน คนมาทีหลังก็ตกรุ่นไปใช้โควต้าของปีถัดไป ปัจจุบันใบเขียวแต่ละกรุ๊บมีคนขอมากเกินโควต้า จึงต้องคอยกันหลายปี คุณสามารถเช็คระยะเวลาว่าต้องคอยนานเท่าไร โดยเช็คเข้าไปที่เว๊บไซด์ของรัฐบาล http://www.travel.state.gov และคลิกเข้าไปที่ visa bulletin เว๊บไซด์นี้จะ update แต่ละเดือน

กรุ๊บเพร็ฟเฟอเร็นซ์หนึ่ง คือกรุ๊บลูกของซิติเซ่นที่อายุเกิน 21 ปีที่ยังไม่แต่งงาน หรือหย่าแล้ว
กรุ๊บเพร็ฟเฟอเร็นซ์สอง กรุ๊บนี้แบ่งย่อยออกเป็น 2A และ 2B กรุ๊บ 2A คือกรุ๊บคู่สมรสของผู้ถือใบเขียว และลูกของผู้ถือใบเขียวที่อายุต่ำกว่า 21 ปีที่ยังไม่แต่งงานหรือหย่าแล้ว ส่วนกรุ๊บ 2B คือกรุ๊บลูกของผู้ถือใบเขียวที่อายุเกิน 21 ปีที่ยังไม่แต่งงานหรือหย่าแล้ว หมายเหตุ ผู้ถือใบเขียวไม่สามารถยื่นเรื่องให้ลูกที่แต่งงานแล้วหรือพ่อแม่ได้
กรุ๊บเพร็ฟเฟอเร็นซ์สาม คือกรุ๊บลูกของซิติเซ่นที่แต่งงาน อาจจะอายุต่ำกว่าหรือเกิน 21 ปีได้
กรุ๊บเพร็ฟเฟอเร็นซ์สี่ คือกรุ๊บพี่หรือน้องของซิติเซ่น
VISA BULLETIN/PRIORITY DATE
วิธีเช็คระยะเวลาทำใบเขียวของแต่ละกรุ๊บ คุณสามารถเช็คออนไลน์ได้ โดยเช็คเข้าไปที่เว๊บไซด์ http://www.travel.state.gov และคลิกเข้าไปที่ visa bulletin คุณจะเห็นเป็นตาราง มีทั้งหมด 6 คอลัมน์ คอลัมน์แรกทางซ้ายมือสุดจะระบุกรุ๊บครอบครัว (family) 1st กรุ๊บเพร็ฟเฟอเร็นซ์หนึ่ง 2nd คือกรุ๊บเพร็ฟเฟอเร็นซ์สอง 3rd คือกรุ๊บเพร็ฟเฟอเร็นซ์สาม 4th คือกรุ๊บเพร็ฟเฟอเร็นซ์สี่ คอลัมน์ที่สองเขียน All Chargeability Areas Except Those Listed อันนี้คือซิติเซ่นทุกประเทศยกเว้นประเทศในคอลัมน์ 3,4,5,และ 6 ฉะนั้นเราคนซิติเซ่นประเทศไทยจะจัดอยู่ในคอลัมน์นี้ วิธีอ่านคือ ให้คุณดูวันเดือนปีในคอลัมน์สอง ตัวอย่าง ในกรุ๊บ 1st คือ กรุ๊บเพร็ฟเฟอเร็นซ์หนึ่ง .เดือนสิงหาคมปี 2006 อิมมิเกรชั่นกำลัง process เคสที่ยื่นเรื่องเดือน 1 มกราคม 1998 หมายความว่าถ้าคุณที่เป็นซิติเซ่นยื่นเรื่องขอใบเขียวให้ลูกที่อายุเกิน 21 ปีที่ยังไม่แต่งงานเดือนนี้สิงหาคม 2006 คุณกะคร่าวๆว่าคุณจะต้องคอยประมาณ 8 ปี ถ้าเคสขยับทีละเดือน แต่อาจช้าหรือเร็วกว่านี้

ไทม์ไลน์ในการขอใบเขียวกรุ๊บเพร็ฟเฟอเร็นซ์
เมื่อคุณยื่นเรื่องขอใบเขียวให้สมาชิกในครอบครัวภายใต้ 4 กรุ๊บเพร็ฟเฟอเร็นซ์นี้ คุณต้องยื่นเรื่องสองเสต็ป เสต็ปแรกคือยื่นคำร้อง I-130 เข้าไปที่อิมมิเกรชั่นก่อน เมื่อยื่นเรื่องเข้าไป ประมาณ 2-3 สัปดาห์คุณจะได้ใบตอบรับหรือ Notice of Action ในใบตอบรับ คอลัมน์ทางด้านซ้ายมือบนสุดจะมี Receipt number จะเป็นนัมเบอร์เคส เมื่อคุณต้องการติดต่อเช็คเคส คุณต้องระบุนัมเบอร์นี้ และคอลัมน์ถัดลงมาซ้ายมือ เป็น Receipt date คือวันที่ทางอิมมิเกรชั่นได้รับเรื่องของคุณทางไปรษณีย์ และคอลัมน์ถัดลงมาเป็น Notice date เป็นวันที่ๆทางอิมมิเกรชั่นรับเคสคุณเข้าระบบโควต้า เรียก Priority date คุณจะใช้วันนี้เป็นไกด์ไลน์เช็คเคส เมื่อเช็คเคสเข้า Visa Bulletin

หลังจากนั้นคุณจะไม่ได้ยินอะไรจากอิมมิเกรชั่นเป็นปี ระหว่าง 1-4 ปี ขึ้นอยู่กับว่าคุณอยู่กรุ๊บใด และวันหนึ่งคุณก็จะได้ใบตอบรับคล้ายใบแรกเป็น Notice of Action แต่เป็นใบ “แอ็พพรูฟเวิ้ล” เคสคุณ (ถ้าตอนนี้เขาขาดเอกสาร เขาก็จะขอมา) ถ้าเอกสารของคุณครบหมด คุณจะได้รับ Approval หลังจากได้แอ็พพรูฟเวิล ไม่ได้หมายความว่า คุณจะได้ใบเขียวเร็วๆนี้ คุณต้องเช็คเข้าไปที่ Visa Bulletin ว่าตอนนี้เขากำลังทำเคสปีไหน และดูวัน Notice Date ของคุณว่าใกล้จะถึงหรือยัง

หลังจากได้ใบ Notice of Approval อีกประมาณ 2-3 เดือนต่อมา คุณควรจะได้รับซองใหญ่จาก National Visa Center เรียกเก็บค่าใบเขียวและค่าตรวจรายได้ของสปอนเซ่อร์ ปัจจุบันเป็นจำนวน $380 และ $70 หลังจากคุณส่งมันนี่ ออร์เด้อร์สองจำนวนนี้แล้ว ประมาณ 2-4 สัปดาห์คุณจะรับซองใหญ่มีเอกสารของสปอนเซ่อร์ I-864 และฟอร์มอื่นๆ ให้ผู้ยื่นและตัวเบเนฟิเชียรี่เซ็น ตอนนี้คุณต้องยื่นภาษีของสปอนเซ่อร์ เมื่อคุณยื่นเอกสารกลับไปที่ National Visa Center และเอกสารคุณครบหมด คุณควรจะได้รับใบตอบรับอีกประมาณ 1 เดือน ว่าทุกอย่างผ่านเรียบร้องแล้ว และทาง National Visa Center ได้ส่งเรื่องไปกงสุลอเมริกันในเมืองไทย

ตอนนี้คุณต้องเช็คไปที่ Visa Bulletin เช็คว่าโควต้าของคุณมาถึงหรือยัง เช่นถ้าคุณอยู่ในกรุ๊บหนึ่งและคุณยื่นเรื่องเข้าไปปี 2001 ปัจจุบันกรุ๊บหนึ่งกำลัง “พรอเซส” เคสของปี 1998 แสดงว่าเรื่องคุณยังต้องคอยไปอีกเกือบ 3 ปี ฉะนั้นจะเห็นว่าระยะเวลาหรือไทม์ไลน์ของใบเขียวกรุ๊บเพร็ฟเฟอเร็นซ์ใช้เวลานาน ฉะนั้นคุณถึงควรรีบยื่นเรื่องเร็วที่สุดเพื่อคุณจะได้ priority date ล็อคไว้ และในระหว่างคอยเรื่อง ถ้าสถานการณ์เปลี่ยนไป เช่นคุณที่มีใบเขียวได้เป็นซิติเซ่น หรือลูกซิติเซ่นที่แต่งงานแล้วเกิดหย่า หรือลูกโสดแต่งงาน เป็นต้น เคสของคุณจะปรับขึ้นหรือลงไปอยู่กรุ๊บอื่น โดยที่คุณยังคง priority date อันเดิมไว้

เรื่องกรุ๊บเพร็ฟเฟอเร็นซ์นี้เป็นจุดหนึ่งที่ทำให้กฎหมายใหม่ที่กำลังถกกันอยู่ในสภาสะดุด เพราะผู้แทนหลายคนว่ามันไม่แฟร์ที่คนที่แอ็พพลายขอใบเขียวอย่างถูกกฎหมายต้องคอยใบเขียวหลายปี แต่อยู่ดีๆจะให้ใบเขียวโรบินฮู้ดที่อยู่แบบ “อิลลีเกิ้ล” จึงถกกันว่าจะต้องโละพวกใบเขียวกรุ๊บเพร็ฟเฟอเร็นซ์ให้ก่อน โดยยืมโควต้าที่จะให้ใบเขียวพวกโรบินฮู้ดภายใต้กฎหมายใหม่มาใช้ก่อน โดยให้แต่ใบทำงานและให้พวกนี้รอใบเขียวไปก่อนฉะนั้นถ้ากฎหมายผ่านออกมาในรูปนี้ พวกที่ยืนภายใต้กรุ๊บเพร็ฟเฟอเร็นซ์ ก็น่าจะได้ขยับเร็วขึ้น คุณคิดว่าไงคะ??

“ไทม์ไลน์”ในการขอใบเขียวแต่งงานในเมืองไทย

สัปดาห์ที่แล้วดิฉันเขียนถึงระยะเวลาหรือไทม์ไลน์ในการขอใบเขียวแต่งงานในอเมริกา สัปดาห์นี้ขอเขียนถึงไทม์ไลนในการขอใบเขียวจากเมืองไทย
ข้อแตกต่างระหว่างสถานทูตและอิมมิเกรชั่น
ถ้าคุณยื่นเรื่องขอใบเขียวแต่งงานในอเมริกา คุณจะยื่นเรื่องเข้าอิมมิเกรชั่น เอกสารต่างๆจะเข้าอิมมิเกรชั่นอย่างเดียว โดยผ่านขั้นตอนเดียว แต่ถ้าคุณยื่นเรื่องขอใบเขียวแต่งงานให้คู่สมรสในเมืองไทย คุณต้องยื่นเรื่องสองขั้นตอน คือ เสต็ปแรกเข้าอิมมิเกรชั่นและเสต็ปที่สองจึงเข้ากงสุล การยื่นเรื่องเข้ากงสุลปัจจุบันใช้เวลาประมาณ 7-8 เดือน ซึ่งจะนานกว่าเท่าตัว ปัจจุบันยื่นเข้าอิมมิเกรชั่นจะเร็วมากเพียง 4 เดือน
ยื่นคำร้องเข้าอิมมิเกรชั่น
เริ่มแรกคุณยื่นคำร้องคือฟอร์ม 1-130 เข้าอิมมิเกรชั่นที่ศูนย์ใหญ่ซึ่งมีทั้งหมด 4 ศูนย์คือ California Service Center, Texas Service Center, Nebraska Service Center, Vermont Service Center ขึ้นอยู่กับว่าคุณอยู่รัฐไหน คุณจึงยื่นเข้าศูนย์นั้น รัฐคาลิฟอร์เนียขึ้นอยู่กับศูนย์คาลิฟอร์เนียเซอร์วิส เซ็นเต้อร์
โนติสตอบรับ
ประมาณ 2 สัปดาห์หลังจากยื่นเรื่อง คุณควรได้ใบตอบรับ 1 ใบ คือฟอร์ม I-797C Notice of Action จาก U.S. Citizenship and Immigration Services
โนติสแอ็พพรูฟเคส
ประมาณ 5 เดือนหลังได้รับใบตอบรับ ถ้าเรื่องผ่านเรียบร้อย คุณจะได้ฟอร์ม I-797C Notice of Action แอ็พพรูฟเคส แต่ถ้าเรื่องติดขัด เช่นขาดเอกสารบางอย่าง คุณจะได้รับจดหมายเรียกขอเอกสารเพิ่มระหว่าง 5 เดือนแรกนี้
ใบเรียกเก็บค่าธรรมเนียม
หลังได้รับใบแอ็พพรูฟเคส คุณไม่ต้องทำอะไร ให้รอต่อไป ประมาณ 2-3 สัปดาห์ให้หลัง คุณจะได้รับซองเอกสารใหญ่จาก “แนชั่นแนลวีซ่าเซ็นเต้อร์” (National Visa Center) เรียกเก็บค่าธรรมเนียมใบเขียว และค่าเช็คเอกสารของสปอนเซ่อร์ จำนวน $380 และ $70 ตอนนี้คุณต้องส่งค่าธรรมเนียมเป็นแคชเชียร์เช็ค หรือมันนี่ ออร์เด้อร์ไป
ฟอร์มของสปอนเซ่อร์
หลังจากคุณส่งค่าธรรมเนียมแล้ว ประมาณ 2- สัปดาห์ คุณควรได้รับซองเอกสารใหญ่ มีฟอร์ม “แอ็ฟฟิเดวิท ออฟ ซัพพอร์ท” จาก “แนชั่นแนลวีซ่าเซ็นเต้อร์”ให้สปอนเซ่อร์กรอก ฟอร์ม authorization ให้ทางอิมมิเกรชั่นเช็คภาษีไปที่ IRS และ ฟอร์ม DS-230 Part I กรอกข้อมูลของคู่สมรสในเมืองไทย ซึ่งฟอร์มนี้คุณต้องส่งไปให้คู่สมรสเซ็น คุณต้องกรอกฟอร์มและส่งภาษี หรืออินคัมแท็กส์ปีล่าสุดพร้อมสำเนาหางเช็คแสดงรายได้ 3 เดือนล่าสุดหรือ/และจดหมายรีบรองการทำงานของสปอนเซ่อร์ ถ้าสปอนเซ่อร์มีรายได้ไม่พอ คุณต้องหา Joint sponsor มาเซ็นร่วมด้วย
จดหมายตอบจบเคส
ถ้าคุณส่งเอกสารครบหมด เรื่องผ่าน ทาง “แนชั่นแนลวีซ่าเซ็นเต้อร์” จะส่งจดหมายใส่ซองจดหมายธรรมดา แจ้งว่าเขาได้คอมพลีทหรือจบเคสนี้ และได้ส่งเรื่องต่อไปให้สถานทูตอเมริกันในเมืองไทยเรียบร้อยแล้ว และเขาจะให้เคสนัมเบอร์คุณซึ่งขึ้นต้นด้วย BNK คือ Bangkok ตามด้วยนัมเบอร์ปีปัจจุบัน เช่น BNK2006 และตามด้วยเคสนัมเบอร์
จดหมายจากกงสุล
หลังจากนั้น คุณนั่งรอต่อไป ประมาณ 2 เดือน คู่สมรสในประเทศไทยจะได้รับจดหมายจากสถานทูตให้รายละเอียดรายการเอกสารที่ต้องเอาไปให้สถานทูตตรวจก่อน หลังจากทางสถานทูตตรวจเสร็จ เขาถึงจะส่งจดหมายนัดวันให้ไปสัมภาษณ์ คุณสามารถเช็ควันสัมภาษณ์ได้ทาง เว๊บไซด์สถานทูตได้ที่  www.travel.state.gov
*หมายเหตุ ไทม์ไลน์ที่ให้นี้เป็นโดยประมาณ และถ้าเอกสารที่คุณยื่นครบ ไม่ขาด ควรจะอยู่ในไทม์ไลน์นี้

Affidavit of Support

เมื่อวันที่ 21 มิถุนายนที่ผ่านมา อิมมิเกรชั่นออกกฎใหม่เกี่ยวกับการเซ็น “แอฟฟิเดวิท ออฟ ซัพพอร์ท” ซึ่งมีผลบังคับใช้สำหรับเคส หรือไปสัมภาษณ์หลังวันที่ 21 กรกฎาคม 2006 กฎหมายนี้ดีทำให้การเซ็นซัพพอร์ทง่ายขึ้น
แอฟฟิเดวิท ออฟ ซัพพอร์ท
“แอฟฟิเดวิท ออฟ ซัพพอร์ท” (Affidavit of Supprt) หลายคนเรียกย่อๆว่า เซ็น “ซัพพอร์ท” ใช้ในอิมมิเกรชั่น สำหรับเคสทำใบเขียวครอบครัว และเคสใบเขียวนายจ้างเฉพาะกรณีที่นายจ้างและลูกจ้างเป็นญาติพี่น้องกัน เมื่อซิติเซ่นหรือผู้ถือใบเขียวยื่นเรื่องทำใบเขียวให้ครอบครัว รวมคู่สมรส ลูก พ่อ แม่ และพี่ น้อง ตัวซิติเซ่นสปอนเซ่อร์ต้องเซ็นใบ “แอฟฟิเดวิท ออฟ ซัพพอร์ท” การันตีว่าตนจะรับผิดชอบใช้เงินรัฐบาลถ้าคนที่ตนทำใบเขียวให้ไปกินเวลแฟร์หรือใช้เบเนฟิดของรัฐบาลบางประเภท ตัวซิติเซ่นสปอนเซ่อร์ต้องแสดงภาษีว่าตนมีรายได้สูงกว่ารายได้ขั้นต่ำที่รัฐบาลกำหนด ถ้าตัวซิติเซ่นมีรายได้ไม่พอ เขาจำเป็นต้องหาคนอื่นที่มีรายได้ดีช่วยเซ็นเป็น “จ๊อยนท์ สปอนเซ่อร์” ด้วย
หลักฐานแสดง
ตามกฎเก่า
สปอนเซ่อร์ต้องแสดงภาษีย้อนหลัง 3 ปีและก็อปปี้เพย์โรลเช็ค (payroll checks) ล่าสุด 2 เดือนย้อนหลัง หรือ/และจดหมายรับรองจากนายจ้าง ถ้าเป็นเจ้าของธุรกิจหรือทำงานส่วนตัว ต้องแสดงเพิ่มคือ ทะเบียนการค้าหรือ business license และถ้าสปอนเซ่อร์มีรายได้ไม่พอ แต่มีทรัพย์สินมาก เขาสามารถแสดงทรัพย์สินได้ โดยทรัพย์สินต้องมีมูลค่า (assets) มากกว่ากำหนดรายได้ขั้นต่ำ 5 เท่า ตัวอย่าง ตามกฎรายได้ขั้นต่ำของสมาชิกในครอบครัว 2 คนต้องมีอย่างน้อย $16,500 ต่อปี หมายความว่าสปอนเซ่อร์ต้องมีทรัพย์สินมูลค่ามากกว่า $82,500 ($16,500 x 5)
ส่วน“จ๊อยนท์ สปอนเซ่อร์”อาจเป็นใครก็ได้ เพื่อนฝูง ญาติพี่น้อง เป็นต้น ต้องแสดงหลักฐานเหมือนกันกับตัวสปอนเซ่อร์ และต้องมีรายได้ของเขาคนเดียวพอเพียงที่จะเซ็นซัพพอร์ทได้ลำพัง ไม่ใช่เอารายได้ไปรวมกับรายได้ของสปอนเซ่อร์ ยกเว้นในกรณีที่“จ๊อยนท์ สปอนเซ่อร์”อยู่บ้านเดียวกันกับตัวสปอนเซ่อร์และดองกัน กรณีนี้ตัว “จ๊อยนท์ สปอนเซ่อร์”สามารถเอารายได้ตนเองบวกกับรายได้ของสปอนเซ่อร์ได้
ตามกฎใหม่
ตามกฎใหม่ข้อเปลี่ยนแปลงที่สำคัญสามอย่างคือ
สปอนเซ่อร์ต้องแสดงภาษีปีล่าสุดเพียงปีเดียวแทนที่จะเป็นสามปี แต่ขอก็อปปี้เพย์โรลมากขึ้นคือ 6 เดือนย้อนหลัง และ จดหมายรับรองจากนายจ้าง
ในกรณีที่คุณทำใบเขียวแต่งงานและมีลูกติด ตามกฎหมายเก่าคุณต้องใช้ “จ๊อยนท์ สปอนเซ่อร์” คนเดียวเป็นสปอนเซ่อร์ให้เด็กทุกคน แยกสปอนเซ่อร์ไม่ได้ แต่ตามกฎหมายใหม่ คุณสามารถใช้“จ๊อยนท์ สปอนเซ่อร์” ได้ถึงสองคนสำหรับเด็กแต่ละคน เช่นลูกสอง สามารถใช้สปอนเซ่อร์สองคนเซ้นให้ลูกแต่ละคนได้
กรณีที่สปอนเซ่อร์มีรายได้ไม่พอ แต่มีทรัพย์สินมาก เขาสามารถแสดงทรัพย์สินได้ โดยทรัพย์สินต้องมีมูลค่ามากกว่ากำหนดรายได้ขั้นต่ำเพียง 3 เท่าแทนที่จะเป็น 5 เท่าตามกฎหมายเก่า ตามตัวอย่างข้างต้น รายได้ขั้นต่ำของสมาชิกในครอบครัว 2 คนต้องมีอย่างต่ำ $16,500 ต่อปี หมายความว่าทรัพย์สินต้องมีมูลค่ามากกว่า $49,500 ($16,500 x 3)
นอกจากนี้กรณีที่ตัวคนทำใบเขียวเองได้ทำงานเสียภาษีมา 40 ควอร์เต้อร์ หรือ 10 ปี ไม่จำเป็นต้องมีสปอนเซ่อร์เซ็น
ไงคะ กฎหมายใหม่นี้คงช่วยได้บ้างนะคะ