คอลัมน์นี้เรามารู้จักวันศาสนาที่คัญของคนอเมริกันคือวัน“อีสเต้อร์”(Easter) วันอีสเต้อร์ในอเมริกาไม่เป็นวันหยุด ราชการเหมือนบางประเทศคริสเตียนอื่นๆ เพราะตามสิทธิรัฐธรรมนูญ ข้อ 1 คือ “อิสรภาพในการนับถือศาสนา” “Freedom of Religion” รัฐบาลไม่สามารถโปรโหมด (promote) ศาสนาใดศาสนาหนึ่งได้ (แต่ “คริสมัส” วันคล้ายวันประสูติพระเยซู เป็นวันหยุดราชการ ไม่มีใครโต้แย้ง 😄) วันอีสเต้อร์จะตรงกับวันอาทิตย์ ปีนี้คือวันที่ 9 เมษา แต่ละปีวันอีสเต้อร์จะไม่ตรงกัน วิธีคำนวนวันอีสเต้อร์คือจะเป็นวันแรกของวันพระจันทร์เต็มดวง หลังจากวัน“วิษุวัติ” หรือ วัน“เอควิน็อกซ์” (Equinox) คือวันที่มีกลางวันและกลางคืนเท่ากันของฤดูใบไม้ผลิ เรียก “สปริง เอควิน็อกซ์” (Spring Equinox) ซึ่งจะอยู่ในช่วงระหว่างวันที่ 22 มีนาคม ถึง 25 เมษายน วันสำคัญทางศาสนาก่อนวันอีสเต้อร์ วัน“แอ๊ช เว๊นส์เดย์” (Ash Wednesday) เป็นวันเริ่มแรกของเทศกาลอีสเต้อร์ ปี 2023 นี้ตรงกับวันที่ 22 กุมภา ผู้ที่เคร่งศาสนาจะเริ่มถือศีลวันนี้ ตามพระคัมภีร์ …
Category Archives: Uncategorized
การเปลี่ยนแปลงในอิมมิเกรชั่นระยะ 1 ปีที่ผ่านมา
สวัสดีปีใหม่ 2023 (พ.ศ. 2566) ต่อทุกคนนะคะ ดิฉันหายไป 2 เดือน เราไปฉลองปีใหม่ใปเมืองไทย หลังจากไม่ได้ไปมา 3 ปี เราแฮ็ปปี้มากๆค่ะ อากาศเดือนธันวาและมกราสุดยอด พอกลับมา ดิฉันก็นั่งมองโต๊ะทำงาน เฮ้อ!ข่าวอิมมิเกรชั่นก็ไม่มีอะไรคืบหน้า ตามที่ ปธน ไบเดน ประกาศตอนหาเสียงว่าเขามีความตั้งใจจะ หาวิธีช่วยให้โรบินฮู้ดได้ทำงานอยางถูกกฎหมาย ช่วงระยะที่ผ่านมา สงครามในยูเครน ผู้ลี้ภัยยูเครนทะลักเข้ามาอเมริกามาก ถือเป็น “พรายออริตี้” (priority) ที่รัฐบาลต้องช่วยพวกผู้ลี้ภัยก่อน นึกอย่างนี้แล้วกันนะคะเพื่อสบายใจขึ้น พวกเราที่อยู่ในอเมริกาถึงจะอยู่เถื่อน แต่เราก็อยู่อย่างปลอดภัย เราไม่ได้ลี้ภัย สองการเปลี่ยนแปลงในอิมมิเกรชั่นระยะ 1 ปีที่ผ่านมาระยะเวลาขอใบเขียวชั่วคราวเร็วขึ้นปีแรก ชุดคณะรัฐบาลไบเดน ระยะเวลาขอใบเขียว กรุ๊บ เพร็ฟเฟอเร็นซ์ คือ คู่สมรสของซิติเซ่น ขอใบเขียวให้พ่อ/แม่ และ บุตรที่อายุต่ำกว่า 21 ปีของซิติเซ่น ระยะเวลาทำใบเขียวค่อยๆเร็วขึ้น ในช่วงกลางปีที่แล้ว ระยะเวลารอประมาณ 1 ปี ซึ่งช่วง ชุดคณะรัฐบาล ทรัมพ์ …
Continue reading “การเปลี่ยนแปลงในอิมมิเกรชั่นระยะ 1 ปีที่ผ่านมา”
วิธีขอใบเขียวให้คู่สมรสและลูกเร็วที่สุด
สวัสดีฤดูใบไม้ร่วง “ออทัมน์ หรือ ฟอล” (Autumn or Fall) ฤดูใบไม้ร่วงรัฐคาลิฟอร์เนียตอนใต้ โดยเฉพาะแถบที่ดิฉันอยู่ อากาศดีมากค่ะ ไม่หนาวจัดเหมือนแถบตะวันตก และสวยมากเวลาใบไม้ร่วง คอลัมน์นี้ดิฉันเขียนเรื่อง วิธีทำใบเขียวให้คู่สมรส ลูก และหลาน ให้เร็วที่สุด ตามกฎอิมมิเกรชั่นแบ่งใบเขียวเป็น 5 กรุ๊บตามลำดับครอบครัว คือ คู่สมรส พ่อ แม่ ลูก พี่ น้อง จำนวนโควต้าต่างกันแต่ละกรุ๊บ กรุ๊บไหนมีคนขอมาก ล้นโควต้าก็ต้องคอยเป็นปีๆ คอลัมน์นี้ดิฉันจะเขียน 2 หัวข้อ คือ วิธีเอาคู่สมรส ลูก และหลานมาอเมริกาให้เร็วที่สุด ซิติเซ่น กรณีคุณแต่งงานกับซิติเซ่น ซิติเซ่นสามารถยื่นเรื่องขอใบเขียวให้คุณ และลูก ที่อายุต่ำกว่า 21 ปีไม่สมรส กรณีคุณและลูกอยู่เถื่อนในอเมริกา (ผู้ถือใบเขียว ไม่สามารถขอใบเขียวให้คู่สมรส และลูกที่อยู่เถื่อนในอเมริกาได้ เขาต้องรอให้ได้ซิติเซ่นก่อน) กรุ๊บนี้ไม่อยู่ภายใต้โควต้า จึงขอได้เร็ว ปัจจุบันระยะเวลาดำเนินเรื่องประมาณ 1 ปี+ ใบเขียวเงื่อนไข …
เที่ยว“มิดเวสท์”กับดิฉัน
คอลัมน์นี้เขียนรวบยอด 2 เดือนเลยนะคะ ที่ดิฉันหายไป เพราะ“พี่ต้อย”พี่สาวคนโตมาหาจากเยอรมันี เราไม่ได้เจอกัน 3 ปีเนื่องจากโควิดและพี่เขยพึ่งเสียชีวิตปลายปีที่แล้ว เราแฮ็ปปี้มากจุ๊กจิ๊กกันทั้งวัน “พี่อั๋น”และ“พี่แด๋น”เพื่อนสนิทจุฬาฯพี่ต้อย พี่ทั้งสองเคยเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยมินนิโซต้ากว่า 40 ปีก่อน ได้ชวนเราไปหาและรับอาสาพาเราเที่ยวแถบ “มิดเวสท์” เที่ยวครั้งนี้นอกจากจะได้สนิทและใช้เวลากับพี่ต้อย ดิฉันได้เรียนรู้ประวัติอเมริกาเกี่ยวกับรัฐแถบ“มิดเวสท์” และการบุกเบิกหรือ“ไมเกรชั่น” (migration) ของผู้อพยพจากพี่อั๋นและพี่แด๋น 4 เขต ของอเมริกา ก่อนอื่นทำความรู้จักการแบ่งเขตอเมริกา เป็น 4 เขต ตามโซนเวลา 1. เขตฝั่งตะวันออก เรียก“อีสเทร์น” (Eastern) 2. เขตภาคกลาง เรียก “เซ็นทรัล” (Central) 3. ถัดไปทางตะวันตก เรียก “เมานเท่น” (Mountain) เพราะมีเทือกเขาเยอะ และ 4. ฝั่งตะวันตก เรียก “ปาซิฟิค” (Pacific) เพราะเรียบฝั่งมหาสมุทรปาซิฟิค ดูรูป ไทม์โซน 4 เขตนอกนั้น …
วิธีที่จะเอาครอบครัวมาเมกาได้เร็วที่สุด
แฮ็ปปี้ ซัมเมอร์ค่ะ วันที่ 21 มิถุนาที่ผ่านมาวันแรกของฤดูร้อน และยังเป็นวันโยคะสากล The international day of yoga วันที่ 22 เป็นวัน “ซัมเม่อร์โซลติส” (summer solstice) วันที่กลางวันและกลางคืนเท่ากัน ที่บ้านดิฉันเราพวกโยกิ (นักเรียนโยคะ) จะมีการฉลอง 4 ครั้งต่อปี ทุกครั้งที่เปลี่ยนฤดู หน้าฤดูใบไม้ผลิเดือนกุมภา หน้าร้อนเดือนมิถุนา หน้าฤดูใบไม้ร่วงกันยา และหน้าหนาว ธันวา ตามหลักอายุรเวชและโยคะ เพื่อร่างกายเราจะได้ปรับตัวเข้ากับธรรมชาติ ดูรูป วันเสาร์กลางวัน ที่ 25 มิย. ที่ผ่านมา พวกเราฉลองซัมเม่อร์ หลังจากโยคะเสร็จ อาหารหลักสามีทำ อาหารแขก “ฟาลาเฟล” (falafel) คล้ายๆ “ไบเยียร์” ที่แขกเดินขายที่สนามหลวงเมื่อสมัยดิฉันเด็กๆ คนรุ่นใหม่คงไม่รู้จักไบเยียร์ และดิฉันทำขนมอาหรับ 1 ถาด “บาคลาว่า” (baklava) และโยกิแต่ละคนทำอาหารชาตินานาชาติมาแจมกันหลังบ้าน สนุกสนาน วันนี้คุยเรื่องวิธีใดที่ผู้ถือใบเขียวสามารถเอาครอบครัวมาเมกาได้เร็วที่สุด …
“เรียลไอดี” REAL ID
วันนี้คุยเรื่อง บัตร “เรียลไอดี” (Real I.D) คือ ใบขับขี่ หรือบัตรประชาชนรุ่นใหม่ ที่รัฐบาลกำหนดให้ใช้ เริ่มวันที่ 3 พฤษภาคม ปีหน้า ค.ศ. 2023 ใช้ขึ้นเครื่องบินภายในประเทศ และเข้าสถานที่ทำงานรัฐบาลกลางหรือ “เฟ็ดเดอรัล บิลดิ้งส” (Federal Buildings) ศาลรัฐบาลกลาง (Federal Courthouse) และค่ายทหาร (Military Bases) เป็นต้น ผู้ที่มีคุณสมบัติขอ“เรียลไอดี”แนะนำให้ไปทำทันทีนะคะ โดยปกติเวลาเดินทางบินภายในประเทศ ทุกคนต้องแสดงไอดี บัตรประชาชนรัฐ หรือใบขับขี่รัฐ หรือ พาสปอร์ตที่ยังไม่หมดอายุ หลังเหตุการณ์สยองขวัญ “นายน์/อีเล็ฟเว่น” (9/11) วันที่ 11 กันยายน ปี ค.ศ. 2001 ที่ผู้ก่อการร้ายไฮแจ็คเครื่องบินและบินชนถล่มตึก “เวิร์ลด เทรด” รัฐนิวยอร์ค ผู้ก่อการร้ายได้ทำไอดีปลอมขึ้นเครื่องบิน จากเหตุการณ์นี้รัฐบาลตื่นตัว ปี ค.ศ. 2005 รัฐบาลได้สั่งให้ “กรมการขนส่ง”หรือ …
คำสอนแม่
วันที่ 22 เมษา เป็นวันเกิดแม่ คุณแม่เสียเร็วอายุเพียง 72 ปี แต่คำสอนของท่านก้องอยู่ในหูตลอด ดิฉันเคยปรับทุกข์กับแม่เรื่องลูกว่ามันดื้อ สอนอะไรไม่ฟัง แม่ตอบว่า“เราเป็นแม่ มีหน้าที่สอน สอนไปเถอะลูก สักวันก็เข้าหู” จริงค่ะ ดิฉันมาอยู่เมกาตอนอายุเพียง 18 ปี ดิฉันได้เป็นผู้เป็นคนเพราะคำสอนแม่ (พ่อ ด้วยค่ะ) คำสอนของท่านเป็นหลักวิถีการดำเนินชีวิตและหน้าที่การงานของดิฉัน โตช้าแบบต้นมะม่วง อย่าโตเร็วแบบต้นมะละกอเมื่อดิฉันสอบผ่านบาร์(กฎหมาย)เป็นทนายความ ปีนั้นดิฉันเปิดสำนักงานกฎหมายของตนเองทันที เช่าออฟฟิสแชร์กับทนายอีก 2 คน ตึกไฮไร๊ส์สูง 18 ชั้น ในเมือง “ลองบีช” (Long Beach) เลือกห้องมีวิวทะเล ค่าเช่า 850 เหรียญ (นับว่าแพงสำหรับสมัยนั้น) พอโทรไปบอกแม่ ท่านเงียบไปสักพักและพูดว่า “ลูกค่อยไปช้าๆ โตช้าแบบต้นมะม่วงล้มยาก อย่าโตเร็วแบบต้นมะละกอ มันล้มง่าย” มา ณ.วันนี้ ดิฉันเป็นทนายมา 28 ปี เอ็นดูคนจนเอ็นขาดหลังจากมีออฟฟิสส่วนตัวได้ไม่ถึงปี ดิฉันได้ถูกจ้างให้ไปทำงานกับ“ซิตี้แบ๊งค์”ในเมืองไทย วันหนึ่งยืนรอเรียกแท๊กซี่กลับบ้าน เห็นเด็ก …
ภาษาโรม๊านซ์ หรือ ภาษาชาวบ้าน
Happy Spring ค่ะ แฮ็ปปี้ สปริง ฤดูใบไม้ผลิค่ะ เริ่มเมื่อวันที่ 20 มีนา อากาศคาลิฟอร์เนียสบาย ค่อยๆหายหนาว ใบไม้เริ่มเขียวชอุ่ม วันนี้เขียนเรื่องเบาๆนะคะตั้งแต่ดิฉันเรียนภาษาเสปญ(สแปนิช)ก็หลงรักภาษามาก สแปนิชเป็นภาษาที่ไพเราะ ออกเสียงง่าย โดยอ่านตามคำสะกด คือออกเสียงทุกพยัญชนะ (phonetic language) ทำให้เรียนง่าย และใช้เสียงหนักแบบภาษาไทยเช่น ตัว P อ่านออกเสียงตัว ป ตัว T อ่านออกเสียงตัว ต ตัว C ออกเสียงตัว ซ แต่ต้องเอาลิ้นดันฟันบน สแปนิช เป็นภาษาที่ใช้มากอันดับสองของโลกรองจากภาษาจีนกลาง ภาษาสแปนิชเป็นภาษาในกลุ่ม“ภาษาโรม๊านซ์” หรือ“โรม๊านซ์ แลงเกว็จ” (Romance language) เป็นหนึ่งในหกภาษาทางการระบุโดยสหประชาชาติ หกประเทศหลักที่ใช้“ภาษาโรม๊านซ์” คือ ประเทศเสปญ โปรตุเกส ฝรั่งเศส อิตาลี โรมาเนีย และ กาตาลัน ฉะนั้นถ้าคุณรู้ภาษาสแปนิช คุณจะพอเข้าใจและกระดิกหูภาษา อิตาเลียน และฝรั่งเศษ …
เดือนมีนาคม เดือนสดุดีผู้หญิง
วันที่ 8 มีนาคม เป็นวันประวัติศาสตร์ของผู้หญิงในอเมริกา เดือนมีนาคมทั้งเดือนเป็น “เดือนประวัติศาสตร์ของผู้หญิง” หรือ “วีเม็นส ฮิสตอรี่ มันท์ซ” (Women’s History Month) ในอเมริกาและอีกหลายประเทศทั่วโลก ฉลองและรำลึกถึงวีรสตรีที่ต่อสู้เพื่อสิทธิและความเสมอภาคของผู้หญิงมาในประวัติศาสตร์มาถึง ณ. วันนี้ คอลัมน์นี้เขียนสดุดีผู้หญิงอเมริกัน (ดิฉันลงเพียง 7 คน) ที่ถูกจารึกในประวัติศาสตร์ที่เปลี่ยนประวัติศาสตร์ในอเมริกา ที่มาที่ไปวันฉลอง “วันประวัติศาสตร์ของผู้หญิงในอเมริกา” เกิดขึ้นครั้งแรกวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1978 (ดูรูป) ในรัฐคาลิฟอร์เนีย เมือง ซานตา โรซ่า (Santa Rosa) เขต“โซโนม่า เคาน์ตี้” (Sonoma County) ตอนเหนือของรัฐสองปีต่อมา ปี ค.ศ. 1980 ประธานาธิบดี จิมมี่ คาร์เต้อร์ (Jimmy Carter) ได้ออกประกาศ ตั้งวันที่ 8 มีนา และทั้งสัปดาห์ เป็นสัปดาห์ประวัติศาสตร์ของผู้หญิง …
ระยะเวลาทำใบเขียวและซิติเซ่นเร็วขึ้น
สวัสดีปีใหม่ตรุษจีนค่ะ Happy Lunar New Year ดิฉันเริ่มต้นปีใหม่เซ็งนิดๆเพราะรู้สึกความหวังที่อยากกลับเมืองไทยใจจะขาด มันริบหรี่เหลือเกิน ดิฉันไม่กลัวโควิด พ่อแม่ลูก 3 คนแข็งแรง แต่กลัวว่าถ้าลูกหรือสามีไปติดโควิดในเครื่องบิน และต้องเข้าโรงพยาบาลในเมืองไทยล่ะ ดิฉันไม่ไว้ใจโรงพยาบาล เฮ้อ! คุยเรื่องอื่นแล้วกันนะคะ คุยเรื่องอิมมิเกรชั่น ก็ยังไม่มีอะไรคืบหน้าสำหรับโรบินฮู้ด เดือนกุมภาปีที่แล้ว หนึ่งเดือนหลัง ประธานาธิบดี “ไบเดน” เข้ารับตำแหน่ง “ไบเดน” ได้สัญญาว่าจะเสนอร่างกฎหมาย “บิล” ปฎิรูปกฎหมายอิมมิเกรชั่นรวมทั้งอภัยโทษให้โรบินฮู้ด “บิล”นี้ยังติดอยู่ในสภาค่ะ ยังต้องมีการต่อรองกันอีกเยอะ ทั้ง 1 ปีที่ผ่านมาถึง ณ. วันนี้ สถานการณ์รอบตัวและสถานการณ์โลกก็ไม่ได้ช่วย รัสเซียอาจบุกประเทศยูเครนได้ทุกเวลา ไวรัสสายพันธ์ใหม่ “ออมมิครอน” (omicron) ระบาด ผู้ลี้ภัยจากอัฟกานและผู้ลี้ภัยที่ติดอยู่สถานกักกันชายแดนจำนวนมากที่รัฐบาลต้องหาที่ลงให้พวกเขา ค่าครองชีพ“อินเฟลชั่น” (inflation) ในประเทศก็สูงขึ้นๆ “ไบเดน” รับภาระหนัก อิมมิเกรชั่นก็ค้างเติ่งอยู่ในสภา เฮ้อ! (ครั้งที่สอง) คุยเรื่องที่ “แฮ็ปปี้” ขึ้นหน่อย ระยะเวลาการทำใบเขียว และซิติเซ่นเริ่มเร็วขึ้นเรื่อยๆ ทันทีที่รัฐบาล “ไบเดน” เข้า ท่านได้ยกเลิก 2 กฎหมายที่ ประธานาธิบดี “ทรัมพ์” ผ่านออกมาปีสุดท้ายก่อนหมดสมัย ทำให้การขอใบเขียวและสอบซิติเซ่นยากขึ้น อันแรก (1) คือกฎที่ผู้ขอใบเขียวต้องพิสูจน์ว่าจะไม่เป็นภาระสังคม โดยในทางอ้อมดูการศึกษา อาชีพ และอายุของผู้ขอใบเขียว และสอง (2) “ทรัมพ์” เปลี่ยนข้อสอบซิติเซ่นจาก 100 ข้อ เป็น 128 ข้อ และเพิ่มคำถามจาก 10 …