คอลัมน์นี้เรามารู้จักวันศาสนาที่คัญของคนอเมริกันคือวัน“อีสเต้อร์”(Easter) วันอีสเต้อร์ในอเมริกาไม่เป็นวันหยุด ราชการเหมือนบางประเทศคริสเตียนอื่นๆ เพราะตามสิทธิรัฐธรรมนูญ ข้อ 1 คือ “อิสรภาพในการนับถือศาสนา” “Freedom of Religion” รัฐบาลไม่สามารถโปรโหมด (promote) ศาสนาใดศาสนาหนึ่งได้ (แต่ “คริสมัส” วันคล้ายวันประสูติพระเยซู เป็นวันหยุดราชการ ไม่มีใครโต้แย้ง 😄)  วันอีสเต้อร์จะตรงกับวันอาทิตย์ ปีนี้คือวันที่ 9 เมษา แต่ละปีวันอีสเต้อร์จะไม่ตรงกัน วิธีคำนวนวันอีสเต้อร์คือจะเป็นวันแรกของวันพระจันทร์เต็มดวง หลังจากวัน“วิษุวัติ” หรือ วัน“เอควิน็อกซ์” (Equinox) คือวันที่มีกลางวันและกลางคืนเท่ากันของฤดูใบไม้ผลิ เรียก “สปริง เอควิน็อกซ์” (Spring Equinox) ซึ่งจะอยู่ในช่วงระหว่างวันที่ 22 มีนาคม ถึง 25 เมษายน 

วันสำคัญทางศาสนาก่อนวันอีสเต้อร์

วัน“แอ๊ช เว๊นส์เดย์” (Ash Wednesday) เป็นวันเริ่มแรกของเทศกาลอีสเต้อร์ ปี 2023 นี้ตรงกับวันที่ 22 กุมภา ผู้ที่เคร่งศาสนาจะเริ่มถือศีลวันนี้ ตามพระคัมภีร์ ตรงกับวันพุธเป็นวันแรกพระเยซูเริ่มอดอาหารเพื่อปฏิบัติธรรม ท่านและสาวกเดินเท้าข้ามทะเลทรายผ่านความธุรกันดารเป็นเวลา 40 วัน จนมาถึงเมืองเยรูซาเล็ม (Jerusalem) สาเหตุที่เรียกว่า วัน “แอ๊ช เว๊นส์เดย์” (Ash Wednesday)  “แอ๊ช” แปลว่า ขี้เถ้า วัน “แอ๊ช เว๊นส์เดย์” คือ“วันรับขี้เถ้า” ชาวคริสเตียนที่เคร่ง จะไปโบสถ์ฟังสวดวัน  “แอ๊ช เว๊นส์เดย์”  และบาทหลวงจะเจิมขี้เถ้าให้ที่หน้าผาก (ดูรูป) เป็นรูปไม้กางเขน สัญลักษณ์ขี้เถ้า คือตามพระคัมภีร์กล่าวว่า ขี้เถ้ามาจากการเผาใบปาล์ม เหตุผลที่ใช้ขี้เถ้าเจิมหน้าผาก (ดูรูป) เป็นสัญลักษณ์เพื่อเตือนให้เรารำลึกว่า  “เราเกิดมาจากขี้เถ้า เมื่อตายเราก็กลายเป็นขี้เถ้า” “Remember, Man is dust, and unto dust you shall return”.  

วัน“ปาล์ม ซันเดย์” (Palm Sunday) พระเยซูเดินทางเข้าเมืองเยรูซาเล็ม ตรงกับวันอาทิตย์ เรียกวันนั้นว่า วัน “ปาล์ม ซันเดย์” ผู้คนที่ศรัทธารอรับท่านอยู่ที่ประตูเมือง พวกเขาได้โปรยใบปาล์มลงบนพื้นเพื่อให้ท่านเดินบนใบปาล์ม ปีนี้ตรงกับวันอาทิตย์ ที่ 2 เมษา (ดูรูป วันปาล์ม ซันเดย์ ที่สามีถ่ายมา) โบสถ์“เชิร์ช อ๊อฟ แอนนันซิเอชั่น” (Church of Annunciation) ในเมือง “นาซาเร็ทซ์”(Nazareth) ซึ่งเป็นบ้านเกิดสามีและบ้านอยู่ใกล้โบสถ์ รัฐบาลได้สถาปนาที่ตั้งโบสถ์นี้เป็นสถานที่สำคัญของศาสนาคริสต์และของพวกนักแสวงบุญ ตามประวัติศาสตร์สถานที่ตั้งโบสถ์นี้เชื่อว่าเป็นที่ตั้งบ้านเดิมของพระแม่มารี และสถานที่พระเยซูเติบโตมา

วัน“กู๊ด ฟรายเดย์” (Good Friday) 5 วันหลังวัน “ปาล์ม ซันเดย์” ซึ่งตรงกับวันศุกร์ มีสาวกผู้หนึ่งที่ทรยศต่อพระเยซูแอบไปแจ้งทหารโรมันว่าพระเยซูประกาศตนเป็นบุตรพระเจ้า  เมื่อกษัตริย์โรมันรู้เข้าท่านได้สั่งทหารฆ่าพระเยซู พระเยซูถูกตรึงไม้กางเขนและเดินไปตามท้องถนน ท่านสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนในวันศุกร์นั้น เรียกวันนั้นว่า “กู๊ด ฟรายเดย์” (Good Friday) ซึ่งเป็นความเชื่อในศาสนาคริสต์เล่าว่า พระเยซูถูกตรึงบนไม้กางเขนเพื่อไถ่บาปของมนุษย์

วัน“อีสเต้อร์” 2 วันต่อมาซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ หลังจากที่พระเยซูถูกฝัง เมื่อผู้ศรัทธาไปที่หลุมฝังศพพระเยซู ปรากฏว่าไม่มีร่างท่าน พวกเขาเชื่อว่าพระเยซูคืนพระชนม์และขึ้นสวรรค์ ความเชื่อนี้ คือรากฐานสำคัญของศาสนาคริสต์ว่า พระเยซูถูกตรึงบนไม้กางเขนเพื่อลบบาปของมนุษย์ เรียก“เรสเซอเร็กท์ชั่น อ๊อฟ จีซัส” (Resurrection of Jesus) 

วันที่ท่านคืนพระชนม์เรียกว่าวัน “อีสเต้อร์ ซันเดย์” (Easter Sunday) บางนิกายกล่าวว่า 3 วัน ฉะนั้นบางนิกายเรียก “อีสเต้อร์ มันเดย์” (Easter Monday)  รากศัพท์คำว่า “อีสเต้อร์” มาจากหลายสายแล้วแต่ประเทศใดจะแปล อันที่ดิฉันชอบมากที่สุดคือ “อีสเต้อร์” มาจากเทพเจ้าหญิงชื่อ “เอ็สเต้อร์” (Eostre) เป็นเทพเจ้าที่บูชากันในฤดูใบไม้ผล ถือเป็นเทพเจ้าแห่งการ ผลิตผล เริ่มฤดูใบไม้ผลิ ฤดู “สปริง” (Spring)

ถือศีล 40 วัน ช่วง“เล็นท์” (Lent)

เทศกาลถือศีล 40 วัน เรียก “เล้นท์” (Lent) หรือ เทศกาลมหาพรต คนที่เคร่งจะถือศีล โดย “ฟาสท์” (fast) คือ ไม่ทานเนื้อสัตว์ หรือตั้งใจทำ หรือสละ ละทิ้งอบายมุข เช่น เลิกบุหรี่ ดื่มเหล้า อธิษฐาน บริจาคสิ่งของ และดำเนินชีวิตโดยไม่ฟุ่มเฟือย เพื่อรำลึกถึงพระเยซูที่ท่านสละชีวิตเพื่อลบบาปของพวกเขา ที่บ้านดิฉันช่วง “เล้นท์” ระหว่าง 40 วันนี้ เนื่องจากสามีดิฉันเป็นคาทอลิค เราไม่ทานเนื้อ นม ไข่ ทุกวันพุธ (วันแอ๊ช เว๊นส์เดย์) และวันศุกร์ (“กู๊ด ฟรายเดย์”)

สิ่งสูงสุดที่ดิฉันได้รับมาจากความเข้าใจในประวัติ ความสำคัญของ “อีสเต้อร์” คือประโยคที่พระเยซูกล่าว “We all have a cross to bear”.  ดิฉันแปลตรงตัว “เราทุกคนแบกไม้กางเขนกับตัว” ทุกเช้าวันเสาร์ดิฉัน bake ขนมและสามีทำกาแฟ มีเพื่อนบ้าน 5 คนมาร่วมกัน (ดิฉันทำมานานกว่า 20 ปี) ลูกชายดิฉันเป็นเด็กพิเศษ ซึ่งวันเสาร์นั้น ลูกชายมีอารมณ์ ดิฉันเหนื่อยใจมาก เพื่อนบ้านชาวไอริช คาทอลิค พูดประโยคนี้ให้ดิฉันฟัง จากพระคัมภีร์ “We all have a cross to bear”. ดิฉันตีความหมาย ว่า “ไม้กางเขนนั้นก็คือลูกชาย ที่ดิฉันต้องแบกเขาไปตลอดชีวิต” ทำให้ดิฉันสงบลงได้ Happy Easter นะคะ

Published by JK

https://www.linkedin.com/in/jiradett/