สวัสดีค่ะปีใหม่ค่ะ ดิฉันพึ่งกลับจากไทยปลายมกรา พึ่งสะสางงานเสร็จจึงมีโอกาสเขียนคอลัมน์ ดิฉันชอบเดือนกุมภา มันเหมือนเริ่มต้นปีใหม่สำหรับดิฉันมากกว่าเดือนมกรา กุมภาถือเป็นเดือนแห่งความรัก เพราะวันวาเล็นไทน์ สามีและดิฉันแต่งงานวันวาเล็นไทน์ และเดือนกุมภายังเป็นเดือนวันเกิดสามี ปีนี้เดือนกุมภามี 29 วันอีก เป็นปี อธิกสุรทิน หรือ เดอะ ลี๊พเยียร์ (The Leap Year)


ที่มาของงปีอธิกสุรทิน หรือ The Leap Year
ท่านจักรพรรดิ “จูเลียส ซีซ่าร์” (Julius Caesar) รัฐบุรุษและผู้ประพันธ์ร้อยแก้วมีชื่อของชาวโรมัน เป็นผู้คิดค้นปฎิทิน “จูเลียน” (Julian Calendar) มาตั้งแต่ 46 B.C. (B.C. ย่อมาจาก Before Crist คือก่อนไครสต์ประสูติ) ปฏิทินจูเลี่ยน เรียกชื่อตาม จูเลียส ซีซ่าร์ มีกฏว่าปีไหนที่หาร 4 ได้ลงตัว ถือเป็น Leap Year เป็นผลให้มี Leap Year บ่อยมาก และยังมีผิดพลาด 1 วัน ในทุก 128 ปี หลังจากนั้นมีการปฏิรูปปฏิทินกันขึ้นไปเรื่อยๆจนมาปี ค.ศ. 1582 “โป๊ป เกรกอรี่ 13” (Pope Gregory XIII) เป็นผู้แนะนำใช้ปฏิทินใหม่มี 365 วันและทุก 4 ปีจะมีเกิน 1 วัน โดยปรับตาม “อิควิน็อกซ์” (Equinox) (อิควิน็อกซ์ คือ วันที่มีกลางวันยาวกว่ากลางคืน) ปฏิทินนี้ได้เรียกชื่อตามท่าน โป๊ปเกรกอรี่ เรียก “เกรกอเรียน คาเล็นเด้อร์” อเมริกาและอังกฤษยอมรับ “เกรกอเรียน คาเล็นเด้อร์” อย่างเป็นทางการปี ค.ศ. 1752 ปัจจุบันทั่วโลกยอมรับเป็นปฎิทินสากล “ปฏิทินเกรกอเรียน” (Gregorian Calendar) บางครั้งเรียก “เวสเทอร์น คาเล็นเด้อร์” (Western Calendar) หรือ “คริสเตียน คาเล็นเด้อร์” (Christian Calendar) ฉะนั้นในเมืองไทยจึงเรียกปีสากลว่า “คริสต์ศักราช” เวลาเราเขียนปี คริสต์ศักราช เราจะใช้อักษรย่อว่า A.D. ย่อมาจากภาษาลาติน anno domini nostri iesu christi ซึ่งแปลคำต่อคำว่า “ปีของพระผู้เป็นเจ้าเยซู ไครสท์” คือเป็นปีที่ใช้อ้างอิงโดยเริ่มนับจากปีที่เชื่อว่าพระเยซูเกิด และมีอายุครบ 1 ปี เท่ากับ ค.ศ. 1


วาเล็นไทน์ เดย์ (Valentine Day)
วันวาเล็นไทน์หรือวันแห่งความรัก วันวาเล็นไทน์ ตรงกับวันที่ 14 ก.พ. ประวัติความเป็นมาคือ ในช่วงศตวรรษที่ 3 เป็นยุคล่าดินแดนของโรมัน กษัตริย์โรมันชื่อท่าน “คลาวเดียที่ III” ได้เกณท์กองทัพทหารส่งชายหนุ่มไปสู้รบ กษัตริย์กลัวว่าชายหนุ่มไม่อยากไปสงครามหรือใจเขวถ้ามีความรัก จึงออกกฎห้ามไม่ให้ชายหนุ่มแต่งงาน บาทหลวงชื่อ “เซ็นท์ วาเล็นไทน์” (Saint Valentine) ไม่เห็นด้วยและต่อต้านกฎหมายนี้ ท่านได้แอบลักลอบทำพิธีสมรสลับให้คู่หนุ่มสาวก่อนที่ชายหนุ่มจะไปรบ ภายหลังกษัตริย์คลาวเดียรู้เข้า จึงจับ “เซ็นท์ วาเล็นไทน์” เข้าคุก ระหว่างรอการประหารชีวิต“เซ็นท์ วาเล็นไทน์”ได้หลงรักลูกสาวของนักโทษผู้หนึ่ง ก่อนวันประหารท่านได้แอบส่งจดหมายไปสารภาพรักต่อลูกสาวนักโทษ และลงท้ายจดหมายว่า “จากวาเล็นไทน์ของเธอ” “From your Valentine” เซ๊นท์ วาเล็นไทน์ ถูกประหารชีวิตวันที่ 14 กุมภา
ในปี ค.ศ. 1847 หญิงอเมริกันชื่อ Esther Howland อยู่รัฐแมสสาจูเซสท์ เธอหัวใสได้เริ่มทำคาร์ดวาเล็นไทน์ขาย เป็นรูปหัวใจและกามเทพยิงศร พระกามเทพหรือ“คิวปิด” (Cupid) คือเทพเจ้าแห่งความรัก วันวาเล็นไทน์จึงกลายเป็นวันแห่งความรักไปทั่วโลก “คาร์ด วาเล็นไทน์” เป็นคาร์ดที่ขายดีที่สุด มากกว่าคาร์ดวันเกิด หรือคาร์ดคริสมัส

เลิฟวิ่ง เดย์ (Loving Day)
“เลิฟวิ่ง เดย์” เป็นอีกวันหนึ่งของ วันแห่งความรัก ถึงแม้จะไม่ได้ตรงกับวันของเดือนกุมภา แต่เป็นเรื่องจริงไม่ใช่ตำนานและเกิดในยุคดิฉัน ดิฉันได้ศึกษาคดี Loving v. Virginia ตอนเรียนกฎหมาย โจทก์คือ นายและนางเวิฟวิ่ง ซูรัฐเวอร์จิเนีย ความเป็นมาคือ ปี ค.ศ. 1958 นาย “ริชาร์ด เลิฟวิ่ง” คนขาวได้แต่งงานกับนางสาว “มิลเดร็ด” ลูกครึ่งผิวดำและขาว ทั้งสองเป็นแฟนกันมาตั้งแต่ตอนเรียนหนังสือ อยู่ในรัฐเวอร์จิเนีย กฎหมายรัฐเวอร์จิเนียห้ามการแต่งงานระหว่างผิวและถือเป็นคดีอาญาถึงขั้นติดคุก ทั้งสองเดินทางไปจดทะเบียนสมรสใน“วอชิงตัน ดีซี” อย่างถูกกฎหมาย และกลับไปอยู่ฟาร์มของตนในเวอร์จิเนีย 5 อาทิตย์หลังจดทะเบียน ตำรวจบุกเข้าไปในบ้านตอนดึกและจับทั้งสองเข้าคุก เมื่อขึ้นศาลรัฐ ผู้พิพากษาลงโทษว่าผิดแต่ท่านพักการลงโทษ ได้เสนอเงื่อนไขว่าทั้งสองต้องย้ายออกจากรัฐ และห้ามกลับเข้ามาเป็นเวลา 25 ปี ทั้งสองได้ย้ายไปอยู่แถบ“วอชิงตัน ดีซี” ทั้งสองต้องการย้ายกลับฟาร์ม ได้อุทธรณ์และไปถึงศาลสูงสุดของรัฐแต่แพ้มาตลอด ในที่สุดเขาได้ไปปรึกษาท่านอัยการสูงสุดช่วงนั้นนั้น คือ “โรเบิร์ท เคเนดี้” (น้องชาย จอห์น เอฟ เคเนดี้) เคเนดี้ได้แนะนำทั้งสองให้ไปหาองค์กร The American Civil Liberties Union “ACLU” องค์กรที่ต่อสู้เพื่อสิทธิและความเสมอภาคของคนผิวดำ ACLU รับเคสและได้ต่อสู้คดีไปถึงศาลสูงสุด “U.S. Supreme Court” โดยอ้างรัฐธรรมนูญ ข้อ 14 ที่ “การันตี สิทธิทุกคนที่จะ แสวงหาความสุข “Personal rights to pursuit of happiness” รวมทั้งสิทธิที่จะแต่งงาน “Freedom to marry” ซึ่งสิทธินี้เป็นสิทธิที่สถิตอยู่ในตัวบุคคลไม่ว่าจะสีผิว เชื้อชาติ หรือ สัญชาติอะไร รัฐไม่สามารถละเมิดสิทธิส่วนบุคคลนั้นๆได้” ศาลคว่ำคดีรัฐตัดสินให้ The Loving ชนะ ตรงกับวันที่ 12 มิถุนายน ปี 1967 (ดูรูป) หลังจากชนะคดี ครอบครัว “เลิฟวิ่ง” พ่อแม่และลูก 3 คน ได้ย้ายกลับไปอยู่ฟาร์มที่รัฐเวอร์จิเนีย ค.ศ. 1975 แปดปีให้หลัง นาย“ริชาร์ด” เกิดอุบัติเหตุถูกรถชนตาย นางมิลเดร็ดไม่เคยแต่งงานใหม่ เธอเสียชิวิตปี ค.ศ. 2008 หลังจากคำตัดสินคดี Loving v. Virginia รัฐเวอร์จิเนียและหลายรัฐยกเลิกกฎหมายห้ามแต่งงานระหว่างผิว รัฐอลาบาม่าเป็นรัฐสุดท้ายที่ยกเลิกกฎหมายห้ามแต่งงานระหว่างผิวในปี ค.ศ. 2000

นางมิลเดร็ดและนายริชาร์ด เลิฟวิ่ง ปีค.ศ. 1967


คำตัดสิน คดี Loving ได้เปิดประตูให้คดี Obergefell v. Hodges คดี “แต่งงานระหว่างเพศเดียวกัน” (Same sex marriage) ชนะ ปี ค.ศ. 2015 ใน คดีขึ้นไปถึงศาลสูงสุด “U.S. Supreme Court” ท่านตุลาการ “แอนโทนี่ เคเนดี้”ได้อ้างถึงคดี Loving เป็นบรรทัดฐาน ศาลตัดสินว่า “สิทธิในการแต่งงานถือเป็นสิทธิพื้นฐาน” (Fundamental right) ซึ่งการันตีให้ทุกคนรวมทั้งคู่สมรสเพศเดียวกัน ศาลสั่งว่าทุกรัฐทั้ง 50 รัฐ(ยกเว้นอาณานิคมของอเมริกา)ไม่สามารถปฏิเสธไม่จดทะเบียนสมรสให้เพศเดียวกันได้
แนะนำหนัง 2 เรื่อง ที่ดิฉันดูวันวาเล็นไทน์คือ The Leap Year ดูแล้วแฮ็ปปี้ อีกเรื่องคือ The Loving Story เรื่องนี้ดูเป็นความรู้ เศร้าหน่อยค่ะ

Published by JK

https://www.linkedin.com/in/jiradett/